เรื่องและภาพ…

นพดล อาชาสันติสุข
สมโภช แตงไทย

Canon EOS R7 กล้องถ่ายภาพสมรรถนะระดับมืออาชีพ ทั้งถ่ายภาพทั่วไป และถ่ายภาพแบบ Action …ติดตั้งเซ็นเซอร์ขนาด APS-C โฟกัสไว ติดตามวัตถุได้แม่นยำ ถ่ายได้ไวกว่า เข้าใกล้ได้มากกว่า…

คำถามหนึ่งที่คาใจสำหรับหลายท่านก็คือ ระหว่างเซ็นเซอร์รับภาพในกล้องดิจิทัล ขนาด Full frame กับ ขนาด APS-C นั้นต่างกันอย่างไรสำหรับการถ่ายภาพ…

ถ้าย้อนหลังไปเกือบยี่สิบกว่าปีก่อน กล้องดิจิทัลที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ APS-C ถือว่าเป็นกล้องมาตรฐานที่นักถ่ายภาพทั้งมืออาชีพและช่างภาพทั่วไปใช้กันอยู่เต็มตลาดเลยก็ว่าได้ก่อนที่กล้องดิจิทัลที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ขนาด Full frame จะเข้ามาแพร่หลายอย่างทุกวันนี้ ถ้าถามว่าเซ็นเซอร์ขนาด Full frame ดีกว่า แบบ APS-C อย่างไร ตอบแบบกว้างๆ ก็คือ ได้ขนาดภาพที่สามารถขยายใหญ่ได้มากกว่าเป็นปัจจัยใหญ่…แต่ในเรื่องการถ่ายภาพ คุณสมบัติการใช้งานนั้น ถ้าใช้ Image processor และการประมวลผลแบบเดียวกันคุณภาพของภาพถ่ายก็ไม่ได้แตกต่างกัน…

แต่ที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือ เรื่องของมุมภาพจากเลนส์ถ่ายภาพที่เปลี่ยนไปจะเป็นมุมภาพที่แคบลง ทั้งนี้เพราะว่าการผลิตเลนส์เพื่อให้ได้มุมภาพขนาดต่างๆ นั้น ได้วางมาตรฐานบนเซ็นเซอร์ขนาด Full frame ที่ต่อเนื่องมาจากระบบฟิล์มดั้งเดิมที่มีขนาด 24×36 มม. นั่นเอง ดังนั้นเมื่อนำเลนส์มาใช้กับกล้องดิจิทัลที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ขนาด APS-C ที่มีขนาดเล็กกว่า มุมภาพจึงแคบลง นั่นคือที่มาของคำว่า “ตัวคูณ” ที่มีตั้งแต่ 1.5-1.6 ตามขนาดของเซ็นเซอร์ที่ใช้งาน

ในกรณีเช่นนี้ เซ็นเซอร์ขนาด APS-C กลับเป็นข้อได้เปรียบกว่า เซ็นเซอร์แบบ Full frame ถ้าต้องการถ่ายภาพระยะไกลที่ต้องใช้เลนส์เทเลโฟโต้ จะได้ระยะที่ไกลมากขึ้น และที่สำคัญก็คือ ได้ไฟล์ภาพที่มีความละเอียดเท่ากับความละเอียดของเซ็นเซอร์ที่ใช้งานจริง ดังตัวอย่างเปรียบเทียบ เช่น…

ถ้าคุณใช้กล้องดิจิทัล Canon Eos R5 ที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ขนาด Full frame ความละเอียด 45 ล้านพิกเซล ติดตั้งเลนส์เทเลโฟโต้ขนาด 600 มม. ถ่ายภาพใน APS-C crop mode คุณจะได้ภาพขนาด Crop ภาพ เทียบเท่าเลนส์ขนาด 960 มม. แต่ความละเอียดของภาพจะเหลือเพียง 17.3 ล้านพิกเซลเท่านั้น

ซึ่งถ้าเทียบกับการที่คุณใช้กล้องดิจิทัล Canon Eos R7 ที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ขนาด APS-C ความละเอียด 32.5 ล้านพิกเซล ติดตั้งเลนส์เทเลโฟโต้ขนาด 600 มม. ถ่ายภาพ จะเทียบเท่าเลนส์ขนาด 960 มม. แต่ความละเอียดของภาพจะได้เต็ม 32.5 ล้านพิกเซล สามารถขยายภาพได้รายละเอียดดีกว่าทันที

นกชายเลนปากโค้ง, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1250 sec. f/6.3, ISO 400

นกปากแอ่นหางดำ, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2500 sec. f/9, ISO 1250

คุณสมบัติเด่นของ Canon EOS R7

จากความสำเร็จของ Canon EOS R3 ที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ Full frame ซึ่งถูกจัดเป็นกล้องระดับ Pro ด้วยระดับราคา 199,900 บาท ก่อนหน้านี้ Canon EOS R7 จึงได้รับการพัฒนาต่อเนื่องด้วยการนำคุณสมบัติเด่นๆ นำมาบรรจุไว้ในกล้องรุ่นนี้ ให้เหมาะสำหรับนักถ่ายภาพระดับ Advance Amateur ได้ใช้งาน ด้วยระดับราคาที่ลดลงมาอย่างมากมายที่ 49,990 บาท เท่านั้น ซึ่งในเวลานี้นับว่าเป็นราคาที่ได้เปรียบกว่ากล้องในระดับเดียวกันที่ปรากฏอยู่ในท้องตลาด

Canon EOS R7 ติดตั้งเซ็นเซอร์ CMOS ขนาด APS-C ที่มีความละเอียดสูงถึง 32.5 MP พร้อมด้วยหน่วยประมวลผล DIGIC X Image processor ซึ่งเป็น Image processor ตัวเดียวกันกับที่ใช้อยู่ใน Canon EOS R3

ตัวกล้องของ Canon EOS R7 เป็นแมกนีเซียมอัลลอย (อะลูมิเนียมบางส่วน) พร้อมด้วยระบบ Seal กันละอองน้ำและฝุ่น มีขนาดกะทัดรัดเพียง 90.4 x 132 x 91.7 มม. และมีน้ำหนักเบามากเพียง 612 กรัม ที่รวมแบตเตอรี่ และการ์ดบันทึกภาพ

นกกาน้ำเล็ก, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/1600 sec. f/7.1 ISO 100

ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่อง สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้ความเร็วสูงสุด 30 ภาพต่อวินาที เมื่อตั้งระบบชัตเตอร์เป็น Electronic Shutter และถ่ายภาพด้วยความเร็ว 15 ภาพต่อวินาที เมื่อตั้งระบบชัตเตอร์เป็น Mechanic Shutter

ระบบ Autofocus & Tracking ระบบ AF ของ Canon EOS R7 เป็นระบบ Dual Pixel CMOS AFII ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั่วทั้งภาพ ประกอบด้วยจุดโฟกัสสูงถึง 651 จุด นอกจากนี้ยังการกำหนด AF area mode ใน Canon EOS R3 มาใส่ไว้ให้ใช้งานใน Canon EOS R7 สามารถเลือกเป็นระบบจุดโฟกัสได้ 4 รูปแบบ สามารถเลือกพื้นที่เป็น Flexible Zone AF ได้ 3 รูปแบบ และ Whole area AF อีกหนึ่งรูปแบบ ช่างภาพสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการถ่ายภาพหลากหลายรูปแบบ

ระบบ Servo AF หรือระบบ Tracking โฟกัสติดตามวัตถุมีให้เลือกใช้ด้วยกัน 4 รูปแบบ ที่สามารถตั้งค่า Tracking sensitivity ได้ และแบบ Auto ที่น่าใช้งานสำหรับระบบ AF Tracking ของกล้องรุ่นนี้ก็คือ มีการบรรจุ Subject to detect ให้เลือกใช้งานได้ 4 รูปแบบ คือ People, Animal โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ สุนัข, แมว และ นก Vehicles เกี่ยวกับยานพาหนะ ตั้งแต่รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์

In Body Image Stabilizer [IBIS] Canon EOS R7 ติดตั้งระบบกันสั่นอยู่ในตัวกล้องพร้อมใช้งาน สามารถลดการสั่นมาตรฐานได้ 8 สต็อป สามารถใช้งานร่วมกับระบบ IS ในตัวเลนส์ได้

Shutter Speed ถ้าตั้งเป็น Mechanic Shutter ความไวชัตเตอร์ตั้งได้ตั้งแต่ 30-1/8000 วินาที แต่ถ้าตั้งเป็น Electronic shutter สามารถตั้งได้ตั้งความไวชัตเตอร์ได้สูงสุดถึง 1/16000 วินาทีเลยทีเดียว ชุดชัตเตอร์ของ Canon EOS R7 ทนการใช้งานได้สูงถึง 200,000 ครั้ง พร้อมด้วยระบบโชคกันกระแทกเพื่อลดการสั่นไหวของการลั่นชัตเตอร์

ความไวแสงในการถ่ายภาพ สามารถตั้งได้ตั้งแต่ ISO 100-32000 (ปรับเร่งได้เทียบเท่า ISO 51200)

ช่องมองภาพ เป็นแบบ OLED EVF ความละเอียด 2.36 ล้านจุด

จอแสดงภาพ เป็นแบบจอพับ Vari-angle ปรับองศาได้ Touch screen LCD ความละเอียดประมาณ 1.62 ล้านจุด

ระบบ Video เป็นแบบ 4K UHD จาก 7K oversampling, 4K 60p ไม่ครอปภาพ และ Canon Log3

RAW Burst mode เป็นระบบถ่ายภาพที่กล้องสามารบันทึกภาพล่วงหน้าได้ 0.5 วินาทีก่อนกดชัตเตอร์ ด้วยการถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยความเร็ว 30 ภาพต่อวินาทีในรูปแบบไฟล์ RAW

ช่องใส่การ์ดคู่ ช่องใส่การ์ดบันทึกภาพคู่ 2 ช่องสำหรับ SD UHS II card

ช่องเสียบแฟลชแบบ Multi function รองรับอุปกรณ์เสริมด้านเสียง และอุปกรณ์สำหรับงานวิดีโอ

แบตเตอรี่ LP-E6NH (สามารถใช้ร่วมกับรุ่น LP-E6 และ LP-E6N)

นกยางเปีย, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2500 sec. f/8 ISO 500

ทดสอบกล้อง Canon EOS R7

การทดสอบครั้งนี้ ทีมงานของ CAMERART ได้รับการสนับสนุนกล้อง Canon EOS R7 พร้อมด้วยเลนส์ Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM และ Canon RF 600 mm. F4 L IS USM จาก บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ทางทีมนิตยสาร CAMERART ขอขอบพระคุณมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ

ตัวกล้อง Canon EOS R7 รุ่นนี้ต้องบอกว่ามีขนาดที่เล็กกะทัดรัด และมีน้ำหนักที่เบามากเพียง 612 กรัมเท่านั้น การหยิบจับใช้งานแม้ว่าจะเป็นกล้องขนาดกะทัดรัด แต่ก็ถือใช้งานได้สบายด้วยด้ามจับที่กระชับมือ

การวางตำแหน่งปุ่มปรับตั้งต่างๆ อยู่ในตำแหน่งที่ใช้งานได้สะดวกสำหรับการบังคับปรับตั้ง ที่หน้ากล้องขวามือล่างด้านหน้ากล้องมีก้านสำหรับปรับตั้งการโฟกัสเป็น MF (Manual focus) หรือ AF (Auto focus)

ส่วนที่ติดตั้งเพิ่มมาใหม่สำหรับกล้องรุ่นนี้ก็คือ ที่ด้านขวาหลังกล้องใกล้ช่องมองภาพได้ติดตั้งแป้นหมุน Quick Control พร้อมด้วย Joy Stick เป็น Multi-Controller แบบหลายทิศทาง ที่สะดวกกับการควบคุมด้วยนิ้วหัวแม่มือหมุนแหวนหรือโยก Joy stick ได้ทันทีที่ต้องการใช้งาน สามารถตั้งฟังก์ชั่นการทำงานได้หลายรูปแบบจากการในเมนู Customize dial

กระเต็นน้อยธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2500 sec. f/8 ISO 1600

กระเต็นน้อยธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2500 sec. f/8 ISO 1600

เช่นเดียวกับใน Canon EOS R3 ปุ่มปรับตั้งหลายปุ่มจะไม่มีสัญลักษณ์บอกว่าเป็นปุ่มปรับตั้งอะไรถ้ากดเข้าไปก็จะเป็นค่าปรับตั้งจากโรงงาน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพื่อให้นักถ่ายภาพสามารถเลือกตั้งค่าการปรับได้เองตามความถนัดและความต้องการใช้งาน ซึ่งสามารถเข้าไปเลือกได้จากในเมนูที่ 3 Customize Dial ของหมวดปรับตั้งกล้อง ซึ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้นสำหรับการใช้งาน

การทดสอบกล้อง Canon EOS R7 ครั้งนี้ เนื่องจากกล้องรุ่นนี้ได้รับการจัดให้เป็นกล้องสำหรับกลุ่ม Advance Amateur และยังเป็นกล้องที่ได้นำเทคโนโลยีส่วนหนึ่งของ Canon EOS R3 มาบรรจุไว้ให้ใช้งาน ที่นอกเหนือจากการถ่ายภาพทั่วๆ ไปแล้ว ยังเหมาะสำหรับการถ่ายภาพในแนว Action ต่างๆ อีกด้วย ดังนั้นการทดสอบครั้งนี้จึงเลือกการทดสอบด้วยการถ่ายภาพนก ที่เป็นดังนี้เพราะว่า นกเป็นสัตว์สวยงาม มีความไวในการบิน อยู่ในธรรมชาติที่มีสภาพแสงที่แตกต่างตั้งแต่สภาพแสงดี จนแสงน้อย หรือการที่ต้องใช้ความไวชัตเตอร์สูงในการถ่ายภาพ ดังนั้นแน่นอนว่า อาจต้องถ่ายภาพในสภาพ ISO ที่ค่อนข้างสูงกว่าปกติ ด้วยลักษณะเช่นนี้จะสามารถทดสอบให้เห็นสมรรถนะการทำงานของกล้องและคุณภาพรูปถ่ายจากกล้องรุ่นนี้ได้ในเวลาเดียวกัน

อีก Mode หนึ่งในกล้องที่น่าสนใจก็คือ RAW burst mode ซึ่งถ้าปรับตั้ง mode นี้ถ่ายภาพ เมื่อกดชัตเตอร์ กล้องจะบันทึกภาพก่อนการกดชัตเตอร์ 0.5 วินาที จะได้ภาพก่อนการกดชัตเตอร์เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่ง สำหรับการถ่ายภาพแบบทันทีทันใดก็ยังได้ภาพก่อนการกดชัตเตอร์

นกปากแอ่นหางดำ, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2500 sec. f/9 ISO 800

นกปากแอ่นหางดำ, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1250 sec. f/6.3 ISO 200

นกปากแอ่นหางดำ, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1250 sec. f/6.3 ISO 320

นกหัวโตหลังจุดสีทอง, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1250 sec. f/6.3 ISO 200

ผลการทดลอง

จากการทดสอบใช้งานถ่ายภาพกับ Canon EOS R7 สามารถพิจารณาสมรรถนะของกล้องรุ่นนี้บนพื้นฐานที่ว่า กล้องรุ่นนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ Advance Amateur เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทั่วไป รวมทั้งการถ่ายภาพในแนว Actions แต่ที่น่าทึ่งก็คือมีระดับราคาเพียง 49,990.00 บาท ที่ต้องถือว่ามีระดับราคาที่ดีมากเลยทีเดียว ผลของการทดสอบสามารถพิจารณาได้ดังนี้

ระบบโฟกัส Canon EOS R7 จัดเป็นกล้องที่มีระบบโฟกัสที่รวดเร็ว และแม่นยำดีมาก สามารถเลือกปรับระบบโฟกัส และพื้นที่โฟกัส ให้เหมาะกับการถ่ายภาพได้หลากหลายตามความต้องการ ซึ่งกล้องมีมาให้งาน ประการสำคัญก็คือ กล้องรุ่นนี้ ได้บรรจุฟังก์ชั่นการทำงานสำหรับการถ่ายภาพให้อย่างครบเครื่อง ซึ่งนักถ่ายภาพควรจะเข้าไปทำความเข้าใจ ก็สามารถที่จะใช้สมรรถนะสูงสุดของกล้องได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบโฟกัสติดตามวัตถุ ซึ่งกล้องสามารถ Tracking และจดจำวัตถุที่ถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเป็น People, Animals หรือ Vehicle รวมทั้งการ Tracking เข้าดวงตา ซึ่งกล้องรุ่นนี้ได้นำเทคโนโลยีส่วนหนึ่ง Canon EOS R3 นำมาบรรจุไว้ให้ใช้งานได้เป็นอย่างดี

นกกระเต็นอกขาว, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/1000s ec. f/7.1 ISO 6400

นกกระเต็นน้อยธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/2000 sec. f/6.3 ISO 640

นกกระเต็นน้อยธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/3200 sec. f/7.1 ISO 1250

มุมมองของภาพถ่าย ด้วยเซ็นเซอร์ขนาด APS-C ช่วยให้มุมมองของเลนส์ถ่ายภาพได้ระยะที่ไกลขึ้นจากตัวคูณ 1.6 ทำให้ช่วงเลนส์ 500 มม. จะได้มุมมองเทียบเท่ากับเลนส์ขนาด 800 มม. หรือเลนส์ขนาด 600 มม. จะได้มุมมองขนาด 960 มม. นั่นหมายความว่า สามารถถ่ายวัตถุให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้ทันที ซึ่ง Canon EOS R7 ตอบสนองการถ่ายภาพในลักษณะนี้ได้เป็นอย่างดี

นกกินเปรี้ยว, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2000 sec. f/13 ISO 1600

นกกินเปรี้ยว, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1600 sec. f/8 ISO 320

นกกระเต็นน้อยธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/2500 sec. f/7.1 ISO 1000

นกกระเต็นน้อยธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2000 sec. f/9 ISO 1600

การเก็บรายละเอียดในภาพถ่าย จากความละเอียดขนาด APS-C ของ CMOS sensor ความละเอียด 32.5 ทำให้ได้ภาพถ่ายมีความละเอียดสูงเต็มที่ 32.5 ล้านพิกเซล ภาพถ่ายมีรายละเอียดที่ดี ซึ่งต่างจากการ Crop ภาพจากเซ็นเซอร์แบบ Full frame ที่ความละเอียดลดลงมาก แม้เมื่อนำภาพที่ถ่ายจากเซ็นเซอร์ขนาด APS-C มา Crop ภาพอีกครั้งหนึ่งก็ยังพบว่าภาพถ่ายก็ยังมีความละเอียดที่ดีสามารถใช้งานได้เลยทีเดียว

คุณภาพสีของภาพถ่าย Canon ถือว่าเป็นค่ายกล้องที่มีประวัติยาวนาน แน่นอนว่าในเรื่องของสีสันจากภาพถ่ายนั้นไม่เป็นปัญหา ภาพถ่ายที่ได้จากล้องรุ่นนี้ให้สีสันที่สดในเป็นธรรมชาติ

นกตีนเทียน, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1600 sec. f/8 ISO 400

นกกระเต็นอกขาว, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/1250 sec. f/7.1 ISO 5000

นกจาบคาหัวเขียว, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/1600 sec. f/7.1 ISO 640

นกกระเต็นน้อยธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/2500 sec. f/8 ISO 800

Noise ในภาพถ่าย สำหรับเรื่องสัญญาณรบกวนหรือ Noise ในภาพถ่ายนั้น จากการใช้งานพบว่ากล้อง Canon EOS R7 เมื่อใช้งานตั้งแต่ ISO 100-1600 ภาพที่ได้มี Noise ต่ำมาก เมื่อตั้งที่ ISO3200 พบว่ามี Noise ให้เห็นบ้างแต่ก็ยังต่ำอยู่ เมื่อเพิ่ม ISO 6400 พบว่า มี Noise เพิ่มให้เห็นตามลำดับ คุณภาพของภาพถ่ายยังถือว่าใช้งานได้ สีสันยังสดใส และเมื่อเร่งความไวแสง ISO ขึ้นไปเป็น 12800-32000 พบว่า Noise ปรากฏให้เห็น สำหรับการเร่ง ISO ขึ้นไปถึง 51200 ควรหลีกเลี่ยง ยกเว้นจำเป็นจริงๆ เนื่อง Noise ค่อนข้างสูง

การถ่ายภาพต่อเนื่อง ในการถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยการตั้งการถ่ายภาพต่อเนื่องสูงสุดที่ 30 ภาพต่อวินาที พบว่า เมื่อตั้งขนาดไฟล์ภาพเป็น RAW + JPEG พบว่าระบบ Autofocus และระบบโฟกัสติดตามวัตถุทำงานมีประสิทธิภาพดี ภาพส่วนใหญ่มีความคมชัด และมีรายละเอียดภาพดี สำหรับในเรื่องของ Buffer ที่รองรับการถ่ายภาพต่อเนื่อง จะสามารถถ่ายภาพติดต่อกันได้ยาวนานประมาณ 35 ภาพ แต่ถ้าตั้งเป็น RAW+JPEG ถ้าตั้งเป็น RAW อย่างเดียวจะถ่ายภาพได้ยาวนานประมาณ 40-42 ภาพ

นกกระเต็นหัวดำ, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1250 sec. f/7.1 ISO 250

RAW burst mode โหมดนี้ต้องถือว่าเป็นจุดเด่นอีกประการหนึ่งของกล้อง Canon EOS R7 ที่ช่วยให้นักถ่ายภาพได้มีโอกาสถ่ายภาพต่อเนื่องเพื่อให้ได้ภาพตามต้องการแม้ว่าการกดชัตเตอร์จะช้าไปนิดเพียงเสี้ยววินาที

RAW burst mode เป็นโหมดที่กล้องจะช่วยถ่ายภาพล่วงหน้า ก่อนจังหวะที่เรากดชัตเตอร์ประมาณ 0.5 วินาที โดยถ้าตั้งเป็นชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ก็จะได้ภาพร่วมสิบกว่าภาพ ก่อนที่จะเป็นภาพในจังหวะที่เรากดชัตเตอร์ ทำให้ได้ภาพมาเลือกจังหวะที่ต้องการได้ แถมยังสามารถเลือก save ไฟล์ว่าจะให้เป็น RAW, HEIFF หรือ JPEG ได้จากในกล้อง หรือจะมาใช้โปรแกรม Digital Photo Professional (DPP) ทำการเลือกไฟล์ภาพตามจังหวะที่ต้องการแล้วค่อย save แยกออกมาทีหลังก็ได้

ข้อควรระวังเมื่อเราเปิดใช้งาน RAW burst mode นี้ก็คือ การโฟกัสภาพ ควรเลี้ยงโฟกัสภาพให้อยู่เสียก่อน ไม่เช่นนั้นภาพหลายจังหวะที่ได้มา จะเป็นภาพที่ไม่ชัดทั้งชุดก็ได้

หมายเหตุ ภาพจาก RAW burst mode จะเปิดและแปลงไฟล์ได้จากภายในกล้อง และในโปรแกรม Digital Photo Professional (DPP) เท่านั้น

เลือกภาพที่ถ่ายมาด้วยโหมด RAW Burst mode แล้วเข้าไปที่แถบคำสั่ง Tool เลือก start RAW burst image tool

จุดที่ปักธงคือภาพในจังหวะที่เรากดชัตเตอร์เพื่อบันทึกภาพ ตัวเลขบอกว่าเป็นชอตที่ 13 จากทั้งหมด 33 ภาพ

เลื่อนขีดกำหนดภาพไปทางซ้ายเพื่อแสดงชอตก่อนหน้าอีกประมาณ สิบกว่าภาพที่กล้องบันทึกมาให้จากการใช้โหมด RAW Bust mode เราสามารถเลือกชอตในจังหวะที่ต้องการได้แล้วทำการ save ไฟล์ออกมาเป็น RAW

menu 01 – เลือกใช้โหมดนี้จากเมนูหน้า 6

menu 02 – เปิด Enable ทั้ง RAW burst mode และ Pre-Shooting

menu 03 – กดสั่งเพลย์ภาพเพื่อดูภาพทั้งชุดและเลือกจังหวะที่ต้องการ

menu 04 – เมื่อกดถ่ายภาพเสร็จแล้วพอเปิดดูภาพจะมีหน้าตาแบบนี้

menu 05 – เลื่อนดูภาพในแต่ล่ะจังหวะ ที่ขีดสีขาวคือจังหวะที่ได้ตอนที่กดชัตเตอร์ ส่วนก่อนหน้านั้นทางซ้ายคือจังหวะที่กล้องบันทึกให้

menu 06 – เราสามารเลื่อนดูจังหวะที่ต้องการได้

menu 07 – ทางฝั่งซ้ายคือชอตที่กล้องบันทึกให้ก่อนกดชัตเตอร์ ครึ่งวินาที

menu 08 – ฝั่งขวาคือภาพจากการกดชัตเตอร์ต่อเนื่องของเรา

menu 09 – เมื่อได้ภาพในจังหวะที่ต้องการจะสามารถเลือกได้ว่าจะ save ออกมาเป้นไฟล์อะไร

menu 10 – กด ok ยืนยัน

menu 11 – กล้องทำการ save ภาพ

menu 12 – กล้องจะถามเราว่าจะดูภาพในชอตอื่นๆในชุดนี้หรือจะให้แสดงภาพที่ save ไว้เมื่อกี้

บทสรุป

กล้อง Canon EOS R7 รุ่นนี้ นอกจากจุดเด่นที่กล่าวมาแล้ว ยังประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นการถ่ายภาพให้ใช้งานและได้ภาพคุณภาพสูงอีกหลายประการ เช่น การบันทึกภาพแบบ HDR PQ หรือ การซ้อนภาพถ่ายด้วย HDR Composite โหมดถ่ายภาพพาโนรามาในตัวกล้อง รวมทั้ง โหมดถ่ายภาพ Focus Bracketing ในตัวกล้อง เป็นต้น

ถ้าเทียบกับกล้องในระดับเดียวกันในเวลานี้ Canon EOS R7 รุ่นนี้ ต้องถือว่าเป็นกล้องที่มีสมรรถนะคุ้มค่า คุ้มราคาที่สุดในตลาดเลยก็ว่าได้ครับ…

Photo Gallery

นกกินเปรี้ยว, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2500 sec. f/8 ISO 400

เหยี่ยวแดง, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2500 sec. f/8 ISO 500

เหยี่ยวแดง, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2500 sec. f/8 ISO 400

นกกินเปรี้ยว, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2500 sec. f/8 ISO 1000

นกยางกรอก, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1000 sec. f/9 ISO 1600

เหยี่ยวแดง, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2500 sec. f/8 ISO 2000

เหยี่ยวแดง, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/3200 sec. f/6.3 ISO 1600

นกกระเต็นน้อยธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/3200 sec. f/6.3 ISO 800

นกกระเต็นน้อยธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/2000 sec. f/6.3 ISO 400

นกกาน้ำเล็ก, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2000 sec. f/9 ISO 320

นกกาน้ำเล็ก, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/3200 sec. f/7.1 ISO 500

นกจาบคาหัวเขียว, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2500 sec. f/8 ISO 800

นกจาบคาหัวเขียว, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2500 sec. f/8 ISO 640

นกกระเต็นน้อยธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2000 sec. f/9 ISO 320

นกกระเต็นน้อยธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2000 sec. f/9 ISO 1250

นกอีก๋อยเล็ก, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1250 sec. f/7.1 ISO 500

นกนางนวลแกลบธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/2500 sec. f/6.3 ISO 1250

นกอีวาบตั๊กแตน, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1250 sec. f/5 ISO 1600

นกอีวาบตั๊กแตน, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1600 sec. f/5 ISO 2500

นกกางเขนบ้าน, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1250 sec. f/5 ISO 3200

นกกระเต็นน้อยธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1000 sec. f/5.6 ISO 640

นกอีวาบตั๊กแตน, Canon EOS R7

กระเต็นน้อยธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2000 sec. f/9 ISO 1250

นกจาบคาหัวเขียว, Canon EOS R7, Lens Canon RF 100-500 mm. F4.5-7.1 L IS USM, 1/2000 sec. f/7.1 ISO 640

นกจับแมลงสีฟ้า, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1250 sec. f/7.1 ISO 1000

นกกระเต็นน้อยธรรมดา, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/2500 sec. f/8 ISO 400

นกยอดหญ้าหัวดำ, Canon EOS R7, Lens Canon RF 600 mm. F4 L IS USM, 1/1600 sec. f/7.1 ISO 400