เรื่อง+ภาพ : Sompoch Tangthai
การควบคุมกล้องถ่ายภาพให้ได้ดั่งใจนึกนั้น เป็นปัจจัยสำคัญในการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่น เพราะเราต้องอาศัยความรวดเร็วในการติดตามนกในจังหวะ ลีลา พฤติกรรมท่าทางต่างๆ ของนก เราจะต้องควบคุมกล้องให้ได้ตามที่เราต้องการภายในเสี้ยววินาทีนั้นๆ ให้ได้ ดังนั้นแล้วการ Setting ค่าต่างๆ ของกล้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ และสำหรับกล้องที่เราจะมาแนะนำการตั้งค่าต่างๆ ในวันนี้คือกล้องที่เหมาะสมกับงานประเภทนกแอคชั่นมากที่สุดอีกตัวหนึ่งของโซนี่ ใช่แล้วครับ Sony alpha 9 mark ii
กล้อง Sony alpha 9 mark ii นับเป็นกล้องที่มีความโดดเด่นในเรื่องของความไว ทั้งระบบโฟกัสและระบบบันทึกภาพต่อเนื่อง จัดเป็นกล้องตัวหนึ่งที่เหมาะกับการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่น แต่ก่อนที่จะนำไปถ่ายภาพเราต้องตั้งค่ากล้องให้สะดวกต่อการใช้งานของเราเสียก่อน ซึ่งหลักๆ ของการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่นนั้นก็คือเรื่องของการควบคุม ความเร็วชัตเตอร์ ควบคุมค่าแสง ระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง และระบบโฟกัสนั่นเอง
Sony a9II Lens FE 200-600 mm. f/5.6-6.3 G
Sony a9II Lens FE 600 mm. F4 GM
ควบคุมความเร็วชัตเตอร์ด้วย M Mode
เราสามารถควบคุมความเร็วชัตเตอร์ของกล้องถ่ายภาพด้วยการเลือกใช้โหมดถ่ายภาพ หรือ Exposure Mode และ M Mode เป็นโหมดถ่ายภาพที่ผมจะแนะนำให้เราเลือกใช้ เมื่อเราเลือกใช้ M Mode เราจะสามารถกำหนดค่าความเร็วชัตเตอร์ของกล้อง ได้ตามที่เราต้องการ ซึ่งจะสัมพันธ์กับความเร็วของนกที่เราจะถ่ายภาพ เช่น ถ้าเราจะหยุดปีกของนกที่กำลังบิน ค่าความเร็วชัตเตอร์ 1/1000 sec. ขึ้นไป ถึงจะเป็นค่าที่จะสามารถหยุดความเร็วในการกระพือปีกของนกได้ ยิ่งนกขนาดเล็ก บินเร็ว ค่าความเร็วชัตเตอร์ก็จะเปลี่ยนไปอีก การใช้ M Mode ทำให้เราสามารถเปลี่ยนค่าความเร็วชัตเตอร์ได้ตามความต้องการ นอกจากนี้เราจะสามารถเลือกใช้ค่า F-Stop เพื่อควบคุมความชัดลึกของภาพเป็นผลพลอยได้
Sony a9II Lens FE 600 mm. F4 GM
Sony a9II Lens FE 600 mm. F4 GM
ควบคุมค่าแสงด้วย ISO Auto และปุ่มชดเชยแสง
เมื่อเราใช้ M Mode ในการถ่ายภาพ เราเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์และ F-Stop เราจึงควบคุมแสงด้วย ISO แน่นอนว่าช่วงเวลาของการถ่ายภาพนกนั้น สภาพแสงอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อไม่ให้เสียเวลาที่เราจะต้องคอยวัดแสง อยู่ตลอดเวลา ทางเลือกคือปล่อยให้กล้องช่วยเราทำงานบ้าง ซึ่งทำได้ด้วยการเลือกใช้ ISO Auto โดยเราเลือกช่วงของค่า ISO อยู่ที่ 100-6400 ซึ่ง มีคุณภาพของภาพที่ดีและเพียงพอต่อสภาพแสงที่เปลี่ยนไปมาได้ และสำหรับการควบคุมค่าแสงของภาพ เราจะปุ่มชดเชยแสง เมื่อเราอยากให้ภาพมืดหรือสว่างในขณะที่กำลังถ่ายภาพแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงของแสง ในช่วงเวลานั้น
Sony a9II Lens FE 600 mm. F4 GM
ระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง Continuous Shooting
เพราะทุกจังหวะในการบันทึกภาพเป็นสิ่งสำคัญเราจึงต้องเลือกใช้ Drive Mode แบบ Hi-Continuous Shooting ในระบบถ่ายภาพต่อเนื่องแบบ Hi ของ Sony a9II นั้น บันทึกภาพที่ 20 เฟรมต่อวินาที ช่วยให้เราไม่พลาดชอตสำคัญที่เราต้องการ โดยเฉพาะภาพถ่ายพฤติกรรมต่างๆ ของนก เช่น นกที่กำลังบินอยู่ หรือจังหวะการโฉบเหยื่อ เราสามารถบันทึกภาพต่อเนื่องได้ยาวจนกว่าการ์ดของเราจะเขียนข้อมูลไม่ทัน ดังนั้นควรเลือกใช้การ์ดที่มีความเร็วสูง
Sony a9II Lens FE 600 mm. F4 GM
Sony a9II Lens FE 200-600 mm. f/5.6-6.3 G
ระบบโฟกัส AF Mode
ระบบโฟกัสเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อภาพที่เราจะได้ น่าเสียดายถ้าได้ภาพจังหวะที่ดี แต่โฟกัสไม่เข้าเป้า และเพื่อลดความเสี่ยงนั้น เราจึงควรทำความตั้งค่าระบบโฟกัสให้เหมาะสมกับการถ่ายภาพนกของเราซึ่งเป็นนกในแบบแอคชั่นที่นกนั้นไม่อยู่นิ่ง ดังนั้นควรปรับไว้ที่ AF-C ระบบโฟกัสแบบ AF-C จะทำงานอย่างต่อเนื่อง และปรับโฟกัสไปเรื่อยๆ ตามวัตถุที่เคลื่อนที่ เมื่อเรากดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งและค้างไว้ หรือกดปุ่ม AF-On ทำให้เรามีโอกาสได้ภาพที่คมชัด และโฟกัสนกได้ทัน
Sony a9II Lens FE 200-600 mm. f/5.6-6.3 G
Focus Area
นอกจากการเลือก AF Mode เป็น AF-C แล้ว อันดับถัดมาคือการเลือกพื้นที่โฟกัส ในการถ่ายนกประเภทแอคชั่นนั้น เราจะต้องคอยสังเกตการเคลื่อนที่ของนกอยู่ตลอด Focus Area หรือพื้นที่ในการโฟกัส คือการเลือกจุดที่จะโฟกัสในพื้นที่กรอบภาพของเรา ว่าเราจะให้กล้องโฟกัสที่จุดไหนในเฟรมภาพ ซึ่งในกล้อง Sony นั้นเราสามารถเลือก พื้นที่โฟกัสที่ครอบคลุมอย่าง Wide Area หรือ Zone Area มักจะทำงานได้ดีในการจับภาพนกประเภทแอคชั่น ส่วน Flexible Spot นั้นจะเหมาะกับนกที่เกาะนิ่งบนกิ่งไม้มากกว่า ยกเว้นเสียแต่ว่า เราจะแพนกล้องตามนกได้แม่นยำจริงๆ
Sony a9II Lens FE 200-600 mm. f/5.6-6.3 G
การตอบสนองของระบบโฟกัสติดตามวัตถุ AF tracking sensitivity
หลังจากที่เราเลือกใช้ระบบโฟกัสแบบ AF-C แล้ว ให้เข้าไปที่เมนู AF เปิดใช้ AF Tracking On และทำการเข้าเมนู AF Tracking sens. โดยจะมีตัวเลือกให้เราสามารถเลือกได้ 5 ระดับตั้งแต่ 1 (Locked on) 2, 3 (Standard) 4 และ 5 (Responsive) ความแตกต่างจะอยู่ที่ความเร็วในการตอบสนองของระบบโฟกัสต่อวัตถุที่เคลื่อนไหวอยู่ในเฟรมภาพ โดยค่ามาตรฐานจะอยู่ที่ระดับ 3 (Standard) และการตอบสนองมากจะอยู่ที่ระดับ 5 (Responsive) ซึ่งระดับ 5 นี้ กล้องจะจับโฟกัสตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีวัตถุใดเลื่อนที่เข้ามาในเฟรมภาพ ส่วนระดับ 1 (Locked on) จะเป็นการล๊อกเป้าหมายที่เราโฟกัสในตอนแรกไปตลอด แม้ว่าจะมีวัตถุอื่นเคลื่อนไหวแทรกเข้ามากล้องจะไม่เปลี่ยนจุดโฟกัส AF subject-tracking sensitivity ทั้ง 5 ระดับนี้เราเลือกใช้งานแตกต่างกันตามลักษณะของภาพนกที่เราจะถ่าย สำหรับการถ่ายนกประเภทแอคชั่น การล๊อกเป้าหมายไว้ที่นกตัวที่เราจะถ่าย การเลือกระดับ 1, 2 หรือ 3 (Standard) จึงเป็นค่าที่เราเลือกใช้บ่อยๆ
การตั้งปุ่มคีย์ลัด Custom key
ปุ่มคีย์ลัด หรือปุ่ม Fn นั้นช่วยให้เราเข้าถึงเมนูการปรับตั้งค่าต่างๆ ละเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆ ในกล้องได้สะดวก รวดเร็ว มากขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เราถ่ายภาพนกนั้นหลายจังหวะเกิดขึ้นรวดเร็ว การตั้งค่ากล้องโดยใช้ปุ่มคีย์ลัดมีส่วนช่วยให้เราถ่ายภาพนกได้ไวยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่สิ่งที่ผมจะตั้งค่าที่ปุ่ม Fn C1 และ C2 (อยู่บริเวณด้านบนใกล้ปุ่มชัตเตอร์) ให้เป็นปุ่มปรับ AF Area และปุ่มปรับ AF Tracking Sensitive เพื่อที่จะได้สามารถเปลี่ยนรูปแบบของพื้นที่โฟกัสและการตอบสนองของ AF Tracking ได้ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้า ปุ่มคัสตอมนี้เราสามารถเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าตามความถนัดของเราได้นะครับ
Sony a9II Lens FE 600 mm. F4 GM
Sony a9II Lens FE 600 mm. F4 GM
การ Setting กล้องสำหรับการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่นนั้น ส่วนใหญ่เราจะเน้นไปที่การตั้งค่าเพื่อความเหมาะสม และความสะดวกในการใช้งาน หลักๆ ก็คือการเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างสะดวก ง่าย และไวที่สุดเพื่อที่เราจะไม่พลาดโอกาสกดชัตเตอร์ถ่ายภาพนกที่มักจะมีความเร็ว สิ่งสำคัญคือการนำไปทดลองถ่ายภาพเพื่อให้เกิดความคุ้นมือ เพราะยังมีปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้เช่น ความเร็วในการเคลื่อนไหวของนกแต่ล่ะชนิด สภาพแสง สภาพพื้นที่ถ่ายภาพ ความนิ่งของตัวช่างภาพเอง ซึ่งแต่ล่ะคนจะมีค่าที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไปครับ…
Sony a9II Lens 100-400 mm. GM
Sony a9II Lens FE 200-600 mm. f/5.6-6.3 G