เรื่อง+ภาพ : POCH

บทความนี้มาจาก Camerart Magazine 214/2015 July

ในการจัดเก็บภาพดิจิตอลนั้น สิ่งสำคัญที่ทำให้การทำงานกับภาพดิจิตอลการอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของภาพ (Copyright) ดังนั้น Image Metadata จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยบอกว่า ไฟล์ภาพนี้เป็นของใคร มีข้อมูลอะไรบ้าง

มาตรฐาน Image Metadata โดยหลักจะเป็น Metadata EXIF Exchangeable Image File Format ซึ่งเป็น Metadata ที่ได้จากกล้อง พัฒนาโดย The Japanese Electronics Industry Development Association (JEIDA) แสดงข้อมูลพื้นฐานในการปรับตั้งค่าต่างๆ เช่น Shutter Speed, F-Stop, ISO, WB ฯลฯ ในกล้องบางยี่ห้อหรือบางรุ่น สามารถใส่ข้อมูลชื่อผู้ถ่าย หรือค่าอื่นๆ ได้ด้วย Image Metadata อีกรูปแบบหนึ่งก็คือ Adobe’s Extensible Metadata Platform (XMP) เป็น Image Metadata ที่ Adobe นำมาใช้สามารถฝังข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับรูปภาพ การค้นหาภาพ การอ้างสิทธิ์การเป็นเจ้าของภาพ และข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับไฟล์ภาพซึ่งในฉบับนี้เราจะนำสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์มาฝังลงไปใน XMP Metadata นี้ด้วย

ในบทความที่แล้ว เราทำความรู้จักกับ สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons : อักษรย่อ CC) ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตในการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกย่อยออกตามเงื่อนไข 6 ลักษณะด้วยกันคือ

*อ้างอิงแหล่งที่มา (CC-BY)

*อ้างอิงแหล่งที่มา ให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-SA)

*อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลง (CC-BY-ND)

*อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC)

*อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และให้

*อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-NC-SA

*อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และห้าม

*ดัดแปลง (CC-BY-NC-ND)

งานภาพถ่าย เมื่อเราถ่ายภาพขึ้นมาแล้วนั้น ภาพถ่ายถือเป็นผลงานที่เราสร้างสรรค์ขึ้น ดังนั้นก่อนเผยแพร่ควรกำหนดสัญญาอนุญาตการใช้งานภาพถ่ายให้เหมาะสม

การใช้งานสัญญาอนุญาต Creative Commons นั้นโดยปกติเราจะแสดงสัญลักษณ์ไว้บนผลงานของเรา เช่นถ้าเป็นการแสดงภาพบนหน้าเว็บไซด์ ก็จะติดสัญลักษณ์ของ Creative Commons ที่หน้าเว็บไซด์นั้น แต่ในปัจจุบันนี้การทำงานเกี่ยวกับภาพถ่ายเราทำงานบนไฟล์ภาพดิจิตอลเป็นหลักการฝังข้อมูล Metadata ด้วยไฟล์ XMP จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับผู้ที่ใช้ภาพถ่ายดิจิตอล

สำหรับการทำสัญญาอนุญาต Creative Commons สามารถเข้าไปกำหนดรูปแบบของเราเองได้ในเว็บไซด์ http://www.creativecommons.org/choose/ เมื่อเข้ามาแล้วจะเจอหน้าตาต่างๆดังนี้

จากนั้นให้ระบุรูปแบบของ CC ที่ต้องการ และกรอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ในแต่ล่ะช่องตามลักษณะงานของเรา ในช่อง License mark ให้เลือกเป็น XMP โปรแกรมจะสร้างจุดลิงค์ให้ดาวน์โหลดไฟล์ metadata.xmp ในพื้นที่ด้านขวา ตัวอย่างนี้จะเป็นการทำงานกับ Metadata ของภาพในฟอร์แมต XMP หรือ Extensible Metadata Platform ซึ่งเป็น Metadata ในรูปแบบ XML ที่พัฒนาโดย Adobe

เสร็จแล้วคลิกดาวน์โหลดไฟล์ Metadata.xmp แล้วเปิดโปรแกรม Adobe Photoshop เปิดภาพที่ต้องการใส่ XMP Metadata เลือกคำสั่ง File, File Info เพื่อเปิดหน้าต่างการทำงานกับ Metadata ของภาพ

ที่ด้านล่างของหน้าต่าง File info จะมีปุ่ม Import ให้คลิกตรงลูกศรเล็กๆ จะมีรายการขึ้นมาให้เลือกรายการ Show Templates Folder

โปรแกรมจะแสดง System Folder ของโปรแกรม Adobe Photoshop (จะมี URL ดังนี้ C: \ Users \ user \ AppData \ Roaming \ Adobe \ XMP \ Metadata Templates) ให้ไปที่โฟรเดอร์ที่ดาวน์โหลดไฟล์ Metadata.xmp จากเว็บฯ มาทำการ Copy ไฟล์ metadata.xmp และมา Paste ลงใน System Folder ที่เปิดมาเมื่อสักครู่นี้

จากนั้นคลิกตัวเลือกของปุ่ม Import อีกครั้ง จะปรากฏรายการเพิ่มมาดังภาพ เมื่อเลือกรายการ CC_Attribution-NonCommercial_4.0_Unported โปรแกรมจะแสดงตัวเลือกการนำเข้า XMP Metadata ดังนี้

เลือกรายการ Keep original metadata, but append matching properties from template แล้วคลิก OKแล้วลองเลื่อนดูรายการ Metadata ที่แถบ IPTC ที่ด้านล่างสุด IPTC Status ในช่อง Right Usage Terms จะปรากฏข้อมูลสัญญาอนุญาต Creative CommAons ให้เห็นนั่นหมายความว่าเราได้ ฝัง XMP Metadata สัญญาอนุญาต Creative Commons ลงในไฟล์ภาพถ่ายของเราเรียบร้อยแล้วครับ

สัญญาอนุญาต Creative Commons ถือเป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งที่ใช้ในการบอกว่าเรานั้นอนุญาตให้นำผลงานของเราที่เราเผยแพร่ไม่ว่าจะในเว็บไซด์ต่างๆ หรือสื่ออื่นๆ นั้นเราอนุญาตให้ทำอะไรได้บ้าง

และโดยความร่วมมือของ สำนักกฎหมายธรรมนิติ สถาบัน ChangeFusion และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ปรับสัญญาอนุญาต Creative Commons ให้ใช้งานในภาษาไทย โดยรองรับตามหลักเกณฑ์ครีเอทีฟคอมมอนส์ และปรับให้เข้ากับกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย จึงสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมายไทย ซึ่งประกาศเปิดตัวตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นลำดับที่ 51 ของโลก