เรื่อง+ภาพ : ISO 9000…

บทความนี้มาจาก Camerart Magazine ฉบับ 239/2017 August

เลนส์ใหม่…ของ Nikon มาถึงเมืองไทยแล้ว สำหรับแฟนๆ นิคอน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใช้กล้อง Nikon ที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ขนาด APS-C  ที่เคยบ่นกันมาตลอดว่า  ต้องการช่วงเลนส์มุมกว้างที่กว้างกันสุดๆ หน่อย แต่ขอราคาที่สัมผัสได้ จากเลนส์มุมกว้างมากๆของนิคอนที่แต่เดิม ราคาวิ่งกันที่หลายๆ หมื่นบาท วันนี้เลนส์มุมกว้างสุดๆของ Nikon สำหรับกล้อง APS-C มีมาแล้วในระดับราคาหมื่นกว่าเท่านั้นเอง เลนส์นิคอนที่เรากำลังกล่าวถึงในวันนี้ คือ AF-P DX NIKKOR 10-20 mm. f4.5-5.6 G VR

AF-P DX NIKKOR 10-20 mm. f4.5-5.6 G VR เป็นเลนส์ซูมประเภท ซูปเปอร์ไวด์ รุ่นใหม่ที่ Nikon แนะนำเข้าสู่ตลาด เป็นเลนส์แบบ DX ที่ออกแบบมาสำหรับกล้องที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ APS-C มีขนาดเลนส์ 10-20 มม. เมื่อเทียบกับกล้อง FX 35 มม. ซึ่งเมื่อใช้กับกล้อง DX จะมีขนาดเทียบเท่ากับขนาด 15-30 มม. 

จากที่ผ่านมาก สำหรับกล้องดิจิตอลที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ขนาด APS-C มักจะมีปัญหาเรื่องการหาเลนส์มุมกว้างมากๆ มาใช้งานค่อนข้าหายาก เลนส์มุมกว้างมากๆ ที่มีอยู่ในตลาดก็ราคาค่อนข้างสูงในระดับตั้งแต่ประมาณ 3 หมื่น ถึงกว่า 6 หมื่น นักถ่ายภาพทั่วไปเลยค่อนข้างแหยงกับการหาซื้อมาใช้งาน แต่ AF-P DX NIKKOR 10-20 mm. f4.5-5.6 G VR ของนิคอนรุ่นใหม่ล่าสุดเปิดตัวในราคาแสนเบาเพียง 13,500.00 บาทเท่านั้น เป็นราคาที่นักถ่ายภาพทั่วไปตั้งแต่ระดับเริ่มต้น ถึงระดับใช้งานซีเรียส ต้องหันมามองกันทันที…แล้วด้วยระดับราคาขนาดนี้ คุณภาพของเลนส์คือสิ่งที่นักถ่ายภาพจะมองต่อไปละครับ

AF-P DX NIKKOR 10-20 mm. f4.5-5.6 G VR เป็นเลนส์ที่ได้รับการออกแบบมาให้มีขนาดกะทัดรัด ขนาดเพียง 77×72 มม. มีน้ำหนักเพียง 230 กรัม เท่านั้น มีโครงสร้างของเลนส์ประกอบด้วย 14 ชิ้นเลนส์ แบ่งออกเป็น 11 กลุ่ม มีชิ้นเลนส์ Aspherical 3 ชิ้น สำหรับการแก้ความคลาดทรงกลม เพื่อให้ภาพคมชัดถึงขอบภาพ ระบบขับเคลื่อนเลนส์แบบ Autofocus ใช้ สเต็ปปิ้ง มอร์เตอร์ ที่ให้เสียงเงียบกว่าแบบเก่า เพื่อให้เงียบเสียงแม้เมื่อต้องการถ่ายภาพวิดีโอ

 

ข้อมูลจำเพาะ

ประเภทของเลนส์                  AF-P DX ชนิด G เม้าท์เลนส์  F เม้าท์ พร้อม CPU ในตัว

ความยาวโฟกัส                      10-20 มม. (เทียบเท่ากับ 15-30 มม. เมื่อเทียบกับ Full Frame

ขนาดรูรับแสง                        กว้างสุดที่ f4.5-5.6 แคบสุดที่ f22-29

โครงสร้างชิ้นเลนส์                ประกอบด้วย ชิ้นเลนส์ 14 ชิ้น แบ่งออกเป็น 11 กลุ่ม  มีชิ้นเลนส์ Aspherical 3 ชิ้น

มุมมองภาพถ่าย                     70 องศา  ถึง  109 องศา

สเกลทางยาวโฟกัส               10, 12, 14, 16, 20

ระยะโฟกัสใกล้สุด                 0.22 ม.

ระบบลดการสั่นไหว              VR

จำนวนไดอะแฟรม                7 กลีบ

ขนาดฟิลเตอร์                        72 มม.

ขนาดของเลนส์                      77 x 73 มม.

น้ำหนักของเลนส์                   230 กรัม

การควบคุมโฟกัส                  ระบบออโต้โฟกัสควบคุมด้วย สเต็ปปิ้ง มอร์เตอร์

 

สัมผัส และ ทดสอบเลนส์

ผมได้รับเลนส์สำหรับการทดสอบจากทาง นิคอน เซลส์ ไทยแลนด์เพื่อทำการทดสอบถึงการใช้งานและคุณภาพของเลนส์เป็นเวลาประมาณ 20 วัน สัมผัสแรกกับเลนส์รุ่นนี้ สิ่งที่นักถ่ายภาพอยากรู้ ก็คงจะเป็นเรื่องของรูปลักษณ์หน้าตาของเลนส์รุ่นนี้ รูปลักษณ์หน้าตาของเลนส์ จัดว่าเป็นเลนส์ที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับตอบสนองการใช้งานแบบพกพาได้สะดวก ด้วยขนาดที่กะทัดรัด และ มีน้ำหนักค่อนข้างเบา ไม่เป็นภาระสำหรับการพกใช้งาน การผลิตของเลนส์รุ่นนี้ จัดว่าเป็นเลนส์ที่ผลิตมาได้ดีตัวหนึ่งเลยทีเดียว ความแน่นหนาการซูม ใช้งานได้คล่องตัว สเกลบนเลนส์ชัดเจนดี ความแข็งแรงทนทานต่อการใช้งานหนัก ถือว่าสามารถทนทานต่อการใช้งานหนักได้ระดับหนึ่ง ไม่มีระบบ Seal กันละอองน้ำละอองฝุ่น การใช้งานในสภาพหนักสำหรับพื้นที่โหดๆ ก็ต้องระมัดระวังในระดับหนึ่ง เม้าท์เลนส์เป็นเม้าท์แบบพลาสติกที่แน่นหนาแข็งแรงทนทาน

ในการทดสอบเลนส์ ได้ทำการทดสอบคุณภาพของความคมชัดของระนาบเลนส์ที่ช่วงซูมต่างๆ และ ที่ขนาดรูรับแสงต่างๆ เพื่อดูความคมชัดของทุกช่วงใช้งาน ทำการทดสอบถ่ายภาพย้อนแสงเพื่อดูอาการฟุ้งและแฟลร์ของเลนส์ รวมทั้งการทดสอบถ่ายภาพวัตถุที่มีสีสัน เพื่อดูการถ่ายทอดสีสันของเลนส์รุ่นนี้

ผลของการทดสอบ

ผลของการทดสอบความคมชัดของเลนส์ในช่วงต่างๆ มีดังนี้

ที่ช่วงมุมกว้าง 10 มม. พบว่า ความคมชัดที่ช่วง f5.6 มีความคมชัดถึงขอบภาพพอใช้ ความคมชัดที่ f11-16 มีความคมชัดถึงขอบภาพ  ที่ช่วงขนาดรูรับแสงที่กว้างกว่า f8 และ ที่ f16 ความคมชัดที่ขอบภาพจะลดลง

ที่ช่วงมุมกว้าง 12 มม. พบว่า ความคมชัดที่ช่วง f5.6 มีความคมชัดถึงขอบภาพพอใช้ ความคมชัดที่ f8-16 มีความคมชัดถึงขอบภาพ ที่ช่วงขนาดรูรับแสงที่กว้างกว่า f5.6 และทีแคบกว่า f16 ความคมชัดที่ขอบภาพจะลดลง

ที่ช่วงมุมกว้าง 14 มม. พบว่า ความคมชัดที่ช่วง f5.6 มีความคมชัดถึงขอบภาพพอใช้ ความคมชัดที่ f8-16 มีความคมชัดถึงขอบภาพ ที่ช่วงขนาดรูรับแสงที่กว้างกว่า f 5.6 และที่แคบกว่า f16 ความคมชัดที่ขอบภาพจะลดลง

ที่ช่วงมุมกว้าง 16 มม. พบว่า ความคมชัดที่ช่วง f 5.6 มีความคมชัดถึงขอบภาพพอใช้ ความคมชัดที่ f 8-16 มีความคมชัดถึงขอบภาพ ที่ช่วงขนาดรูรับแสงที่กว้างกว่า f5.6 และที่แคบกว่า f16 ความคมชัดที่ขอบภาพจะลดลง

ที่ช่วงมุมกว้าง 20 มม. พบว่า ความคมชัดที่ช่วง f5.6 มีความคมชัดถึงขอบภาพพอใช้ ความคมชัดที่ f8-11 มีความคมชัดถึงขอบภาพ ที่ช่วงขนาดรูรับแสง f16 ความคมชัดที่ขอบภาพจะลดลงเล็กน้อย ที่ขนาดรูรับแสงที่ f22 ความคมชัดที่ขอบภาพจะลดลง

ภาพถ่ายที่ระยะ 10 มม.

ภาพถ่ายที่ระยะ 12 มม.

ภาพถ่ายที่ระยะ 14 มม.

ภาพถ่ายที่ระยะ 16 มม.

ภาพถ่ายที่ระยะ 20 มม.

ผลของการทดสอบเมื่อถ่ายภาพย้อนแสง พบว่า เมื่อต้องมีการถ่ายภาพย้อนแสง เลนส์รุ่นนี้ยังให้ความคมชัดที่ดี อาการฟุ้งของเลนส์ต่ำ แฟลร์ หรือ อาการภาพหลอนต่ำ ใช้งานถ่ายภาพย้อนแสงได้อย่างสบายใจเลยทีเดียว

ผลของความคลาดสี (Chromatic aberration) พบว่า มีความคลาดสีที่ขอบภาพ ที่ค่อนข้างต่ำ ใช้งานได้อย่างสบายใจเลยทีเดียว

ผลของการแสดงรายละเอียดในภาพ และถ่ายทอดสีสันของภาพถ่าย จากภาพที่ถ่ายทดสอบหลายๆ สถานะ พบว่า ความคมชัดของเลนส์รุ่นนี้ ให้ความคมชัด และการเก็บรายละเอียดอยู่ในระดับดีน่าพอใจเลยทีเดียว การถ่ายทอดสีสันของภาพถ่ายให้สีสันที่ถูกต้องสดใส 

ภาพถ่ายย้อนแสง

 

ภาพถ่ายที่ระยะ 10 มม.

ภาพถ่ายที่ระยะ 14 มม.

ภาพถ่ายที่ระยะ 20 มม.

ภาพถ่ายที่ระยะ 12 มม.

ภาพถ่ายที่ระยะ 16 มม.

บทสรุป

ก่อนที่จะสรุปเกี่ยวกับเลนส์รุ่นนี้ ผมขออาศัยพื้นที่ตอบคำถามสำหรับผู้ที่เคยถามผมว่า “เห็นทดสอบทีไรผู้ทดสอบก็จะบอกว่าดีทั้งนั้น  แล้ว  มันดีจริงอย่างว่าหรือเปล่า”….คำถามนี้คงเป็นที่กังขาของหลายท่านเหมือนกัน…สำหรับผมแล้ว ทุกครั้งที่มีการทดสอบ ผมจะพยายามให้ข้อมูลของสินค้าให้มากที่สุดตามหลักมาตรฐานที่ควรเป็น…แต่การสรุปผลนั้น การที่จะบอกว่าคุณภาพดีมากน้อยเพียงไร แต่เพียงลอยๆ… มันก็ชวนให้สงสัยเหมือนกัน… ดังนั้น… ส่วนใหญ่แล้ว… ผมก็จะให้พิจารณาเปรียบเทียบไปในเวลาเดียวกันครับ ว่าดีอย่างไร ควรใช้งานให้เต็มสมรรถนะอย่างไรครับ

บทสรุปของเลนส์รุ่นนี้ ที่น่าพอใจอย่างยิ่ง นั่นคือ เป็นเลนส์ Super Wide ที่มีราคาให้ทุกท่านสัมผัสได้ เมื่อเทียบกับทั่วไปแล้ว ระดับราคาของเลนส์ช่วงขนาดนี้ ส่วนใหญ่ราคาอยู่กันที่ 3-6 หมื่นบาทเลยทีเดียว แต่ราคาเลนส์รุ่นนี้ เพียง 13,500.00 บาทเท่านั้น ผมจึงถือว่า Nikon ให้คุณภาพของเลนส์รุ่นนี้มาคุ้มเกินราคามากเลยทีเดียว

จุดอ่อนของเลนส์รุ่นนี้ ถ้าดูจากผลการทดสอบ ก็จะพบว่า ความคมชัดถึงขอบภาพนั้น อาจจะมีจำกัดบ้าง ซึ่งต้องถือว่าเป็นเรื่องปกติการที่จะทำให้ได้มากกว่านี้ ทำได้ครับ แต่คงไม่ใช่ราคาขนาดนี้ การที่ทราบถึงเงื่อนไขของคุณภาพเมื่อเทียบกับราคา จะทำให้เราสามารถใช้เลนส์นี้สำหรับการถ่ายภาพคุณภาพสูงได้ ด้วยการเลือกใช้ช่วงที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของเลนส์ในการถ่ายภาพ

เลนส์รุ่นนี้ถ้าจะใช้งานให้สบายใจ ที่ช่วง 10 มม. ควรถ่ายภาพที่ขนาดรูรับแสง f 8-16 ซึ่งเป็นช่วงที่ให้ความคมชัดทั่วทั้งภาพได้ดี 

สำหรับที่ช่วง 12-16 มม. พบว่า การถ่ายภาพที่ขนาดรูรับแสง f5.6-16 จะให้ผลในเรื่องความคมชัดทั่วทั้งภาพได้ดี และที่ช่วง 20 มม. ควรถ่ายภาพที่ ช่วงขนาดรุรับแสงที่ f 5.6 -11 ก็จะให้ความคมชัดทั่วทั้งภาพได้ดีเช่นกัน

การเลือกจุดเด่นของเลนส์มาใช้งาน จะทำให้ท่านได้ภาพถ่ายคุณภาพสูงสุด แต่ประหยัดในเรื่องของการซื้อหาเลนส์สำหรับการใช้งานครับ นี่คือที่มา…ที่บอกว่า…เลนส์รุ่นนี้…มีสมรรถนะและคุณภาพคุ้มเกินราคาครับ…

แถมท้ายอีกนิด…ผมได้นำเลนส์รุ่นนี้…ใช้งานกับ…กล้อง FX…Full frame…โดยปิดระบบ Auto DX …พบว่า สามารถนำเลนส์รุ่นนี้มาใช้งานได้กับกล้อง Full frame ได้ครับ…ให้ผลภาพเต็มเฟรมได้ที่ ช่วง 14 มม. ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่า 14 มม. จะมีอาการขอบภาพมืด ที่ช่วง 14 มม. ไปแล้ว ใช้ได้ครับ อาจจะมีขอบภาพมืดบ้างเล็กน้อยในบางช่วงครับ…

ภาพถ่ายที่ระยะ 10 มม. เมื่อใช้กับกล้อง Full Frame

ภาพถ่ายที่ระยะ 12 มม. เมื่อใช้กับกล้อง Full Frame

ภาพถ่ายที่ระยะ 14 มม. เมื่อใช้กับกล้อง Full Frame

ภาพถ่ายที่ระยะ 16 มม. เมื่อใช้กับกล้อง Full Frame

ภาพถ่ายที่ระยะ 20 มม. เมื่อใช้กับกล้อง Full Frame