เรื่อง : นพดล

บทความนี้มาจาก Camerart Magazine 254/2018 November

หลังสงคราม เลนส์ใหม่ตัวแรกที่ Leica แนะนำเข้าสู่ตลาด คือ เลนส์มุมกว้าง 35 มม. F3.5 SUMMARON ชิ้นเลนส์ 4 กลุ่มแบบ Symmetrical Gaun เป็นการปรับปรุงจาก ELMAR ซึ่งอยู่ในระหว่างการเริ่มผลิต มีมุมรับภาพ 54 องศา รูรับแสงแคบสุด F22 โฟกัสใกล้สุด 1 เมตร ใช้รหัส SOONC ผลิตเป็นเมาท์เขี้ยวในปี 1954 ผลิต 80,000 ตัว

ในปี 1949 SUMMARIT เป็นการปรับปรุงที่เห็นได้ชัดของ XENON ซึ่งอยู่บนพื้นฐานการออกแบบเหมือนกัน แต่แก้ไขให้ดีกว่าและคุณภาพดีกว่าเมื่อเปิดรูรับแสงกว้างสุด การปรับปรุงต่อไปอีกทำให้เกิด 50 มม. F1.4 SUMMARIT และ 50 มม. F1 NOCTILUX SUMMARIT มีมุมการรับภาพ 46 องศา รูรับแสงแคบสุด f/16 ปรับระยะชัดใกล้สุดที่ระยะ 1 เมตร รหัสสำหรับเมาท์แบบเกลียว ก็คือ SOOIA และ สำหรับเมาท์เขี้ยวคือ SOOIA

เลนส์เมาท์เกลียวตัวสุดท้ายที่สร้างขึ้น คือ 28 มม. F5.6 SUMMARON ซึ่งที่จริงไม่ได้เกิดในปี 1955 ผลิตจนกระทั่งปี 1963 เป็นแบบ Symmetrical 6 ชิ้นเลนส์ 4 กลุ่ม สิ่งที่น่าสังเกต คือ มีชิ้นเลนส์หลังที่ใหญ่ เพื่อลด Vignet มุมรับภาพ 75 องศา ผลิต 6,200 ตัว

เลนส์ตั้งแต่ปี 1945 สำหรับกล้องเมาท์แบบเกลียว และ Leica M

การเกิดของ LEICA M ในปี 1954 จึงมีความต้องการเลนส์ใหม่ที่มีเมาท์แบบเขี้ยว เลนส์เดิมที่มีเมาท์แบบเกลียวก็ถูกผลิตออกมาเป็นแบบเขี้ยว โดยเลนส์แบบเมาท์เขี้ยวมีการเพิ่มตัวอักษรที่รหัสเดิมเลนส์เหล่านี้ได้แก่ 35 มม. F3.5 SUMMARON ใช้รหัสว่า SOONC-M เลนส์ 50 มม. F3.5 ELMAR-M หรือ ELMAR 50 มม. F1.5 SUMMARIT ใช้รหัสว่า SOOIA-M 90 มม. F4 ELMAR ใช้รหัสว่า LEANG-M หรือ ELGAM ซึ่งภายหลังมีการผลิตเป็นเลนส์ที่เก็บได้แบบเมาท์เขี้ยวเพื่อติดไว้กับกล้อง และสำหรับกระเป๋ากล้องแบบ ever-ready ใช้รหัสสำหรับเลนส์ว่า ILNOO 135 มม. F4.5 HEKTOR ใช้รหัสว่า HEFAR-M หรือ HEFAM

โครงสร้างของเลนส์เมาท์เขี้ยวนั้นเหมือนกับเลนส์เมาท์เกลียวเดิมมี 35 มม. ซึ่งสร้างขึ้นมาพร้อมกับช่องมองภาพพิเศษ ซึ่งทำให้สามารถใช้กับกล้อง LEICA M3 ได้ ซึ่งมีกรอบภาพขนาด 35 มม.

ในช่วงนั้นตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 50 เป็นช่วงเริ่มต้นของความก้าวหน้าในการออกแบบเลนส์ ซึ่งเริ่มจากแก้วชนิดใหม่จากห้องทดลองและการใช้คอมพิวเตอร์ การออกแบบเลนส์และเมาท์ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยนี้ ซึ่งหลายครั้งที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนชื่อเลนส์หรือไม่มีการแถลงข่าว ทำให้รายละเอียดต่างๆ ไม่สามารถนำมาลงในหนังสือได้อย่างครบถ้วน การออกแบบ Classic ถูกหลงลืมไป และ ชื่อเรียกต่างๆ ก็ได้กลายมาเป็นชื่อรูรับแสงกว้างสุดไป เช่น SUMMILUX คือ F1.4 Summiceon คือ F2 Elmarit F2.8 และ ELMAR F 3.5 หรือ 4 (หลังจากที่ 50 มม. F2.8 Elmar เลิกผลิต)

ถึงแม้ว่า LEICA M3 ไม่ได้เกิดก่อนปี 1954 เลนส์ที่เคียงคู่กับมันตลอดมาคือ 50 มม. F2 Summicron ซึ่งผลิตครั้งแรกในปี 1953 เป็นเมาท์เกลียว ปัจจุบันชื่อนี้ได้กลายเป็นเลนส์ F2 คุณภาพสูงของ Leica มีชิ้นเลนส์ 7 ชิ้น 4 กลุ่ม ลักษณะพิเศษคือ เลนส์คู่หน้าไม่ได้ยึดติดกันแต่ปล่อยช่องว่างให้เป็น “Air Lens” ระหว่างชิ้นเลนส์ทั้งสองลักษณะนี้มีจนถึงปี 1968 ซึ่งถูกแทนที่โดยการออกแบบใหม่มี 6 ชิ้นเลนส์ โดยมีเลนส์ประกบกัน 1 คู่ ใช้แก้วชนิดใหม่ และได้รับการพัฒนาอีกครั้งในปี 1979 มี 6 ชิ้นเลนส์ และมีเลนส์ประกบกัน 2 คู่ และลดน้ำหนักลง

Summicron เป็นเลนส์ตัวที่ 2 เท่านั้นถัดจาก 50 มม. ELMAR เท่าที่มีการผลิต สร้างขึ้นทั้งเมาท์เขี้ยวและเกลียว ทั้งแบบพับได้ และแบบคงตัว และมีรุ่นพิเศษที่ปรับระยะชัดใกล้ได้เท่าเมาท์เขี้ยว เลนส์เหล่านี้เป็นสีโครมและมีรุ่นใหม่สีดำ มุมรับภาพ 46 องศา รูรับแสงแคบสุด F16 ปรับระยะชัดได้ใกล้สุด 1 เมตร รหัสชื่อ SOOIC จำนวนผลิตแบบพับได้เมาท์เกลียว 61000 ตัว และแบบคงตัวเมาท์เกลียว 1100 ตัว

รหัสสำหรับเมาท์เขี้ยวตัวแรกที่พับได้ชื่อ SOOIC-M แต่แบบคงตัวชื่อ SOSIC ออกมาในปี 1956 รุ่นปรับระยะชัดใกล้คือ SOMNI หลังจากพัฒนาหลายครั้งเลนส์นี้ก็ยังอยู่ในสายการผลิต

เลนส์ใหม่ซึ่งไวแสงกว่า คือ 50 มม. F2.8 ELMAR ออกมาในปี 1957 ซึ่งใช้แก้วชนิดใหม่รหัสสำหรับเมาท์เกลียวคือ ELMOO เมาท์เขี้ยวคือ ELMON

ในปี 1958 นั้นเป็นปีสำหรับเลนส์ใหม่ เลนส์ 35 มม. F2.8 SUMMARON เป็นหนึ่งในนั้นมีชิ้นเลนส์ 6 ชิ้น 4 กลุ่ม มีลักษณะคล้าย F3.5 SUMMARON แต่ไม่เหมือน ผลิตเป็นเมาท์เกลียวจนถึงปี 1963 จากนั้นเป็นเมาท์เขี้ยว จนถึงปี 1974 มุมการรับภาพ 64 องศา รูรับแสงแคบสุด F22 ปรับระยะชัดใกล้สุด 1 เมตร รหัสสำหรับเลนส์เมาท์เกลียวคือ SIMOO ผลิตมาประมาณ 5200 ตัว สำหรับเมาท์เขี้ยวปรับระยะชัดได้ใกล้กว่าคือ 0.7 เมตร รหัส ชื่อ SIMOO ผลิตมาจำนวน 20,300 ตัว รหัสสำหรับเลนส์ตัวนี้คือ SIMWO ผลิตมาจำนวน 10,100 ตัว

35 mm. F2 SUMMICRON เป็นเลนส์ไวแสงใช้ชิ้นเลนส์ 8 ชิ้น 6 กลุ่ม วางชิ้นเลนส์แบบ Symmetrical 2 ข้างของม่านรูรับแสง ผลิตระหว่างปี 1958 ถึง 1963 มีเมาท์เกลียวจำนวนน้อย มุมรับภาพ 64 องศา รูรับแสงแคบสุด F16 ปรับระยะชัดใกล้สุด 0.7 เมตร รหัสชื่อ SAWOO ผลิตจำนวน 500 ตัว เลนส์เมาท์เขี้ยวตัวแรกที่รหัสชื่อ SAWOM และ SAMWO สำหรับ M3 มีการออกแบบใหม่หลายครั้ง และยังมีผลิตอยู่

ในปี 1958 มีเลนส์ มุมกว้างมาก คือ 21 มม. F4 SUPER ANGULON ออกแบบยากมากเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดี ใช้ชิ้นเลนส์ 9 ชิ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ผลิตจนกระทั่งปี 1963 มุมรับภาพ 92 องศา รูรับแสงแคบสุด f22 ปรับระยะชัดใกล้สุด 0.4 เมตร รหัสชื่อ SUUON สำหรับเมาท์เกลียวผลิต 1,400 ตัว เมาท์เขี้ยว รหัสชื่อ SUMON และมีการปรับปรุงเป็น F3.4 ระหว่างปี 1963-1980

เลนส์สุดท้าย ในปี 1958 คือ 90 มม. F2 SUMMICRON เลนส์ 6 ชิ้น 5 กลุ่ม มุมรับภาพ 27 องศา รูรับแสงแคบสุด F16 ปรับระยะชัดใกล้สุด 1 เมตร รหัสสำหรับเมาท์เกลียวคือ SEOFF จำนวน 600 ตัว เมาท์เขี้ยวคือ SEOOM มีการออกแบบใหม่ในปี 1980

เลนส์ 50 มม. F1.4 SUMMILUX ปรับปรุงจาก SUMMARIT สร้างระหว่างปี 1959 ถึง 1968 ส่วนมากเป็นเมาท์เขี้ยว แต่มีจำนวนจำกัดที่เป็นเมาท์เกลียวตั้งแต่ปี 1960 ถึง 1963 7 ชิ้นเลนส์ 5 กลุ่ม ออกแบบคล้าย XENON มุมรับภาพ 46 องศา รูรับแสงแคบสุด f16 ปรับระยะใกล้สุด 1 เมตร รหัสสำหรับเมาท์เขี้ยว ชื่อ SOOME ออกแบบใหม่ในปี 1966 โดยไม่เปลี่ยนชื่อยังคงผลิตอยู่ในปัจจุบัน

เลนส์ 90 มม. ใหม่ เปิดตัวปี 1959 คือ F2.8 ELMARIT ชื่อใหม่นี้ สำหรับ f2.8 ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป แบบเมาท์เกลียวผลิตจนถึง 1963 มี 5 ชิ้นเลนส์ 3 กลุ่ม มุมรับภาพ 27 องศา รูรับแสงแคบสุด F22 ปรับระยะชัดใกล้สุด 1 เมตร รหัสชื่อ ELRIT จำนวนประมาณ 2,000 ตัว รุ่นเมาท์เขี้ยวชื่อ ELRIT-M 90 มม. f4 ELMAR ได้รับการออกแบบใหม่ในปี 1964 มีเพียง 3 ชิ้นเลนส์ โดยใช้ประโยชน์จากแก้วชนิดใหม่ และระบบเมาท์ปรับระยะชัดแบบขนาน หมายเลขประจำกล้อง 11830 มี Lens Head แยกต่างหาก รหัส 1128 และเมาท์เกลียวรหัส 11730 รุ่นที่พับได้ยังผลิตโดยใช้โครงสร้างเลนส์แบบเก่าจำนวน 540 ตัว สำหรับเมาท์เกลียว และเมาท์เขี้ยว 5,900 ตัว

เลนส์สุดท้ายสำหรับกล้องเมาท์เกลียว คือ 135 มม. f4 ELMAR ออกมาในปี 1960 ทำเป็นเมาท์เกลียวเพียงไม่กี่พันตัว ผลิตทั้งหมดกว่า 2,300 ตัว ถึงแม้ใช้ชื่อ ELMAR แต่ออกแบบใช้ 4 ชิ้นเลนส์ 4 กลุ่ม 3 ชิ้น อยู่หน้าม่านรูรับแสงแคบสุด f22 ปรับระยะชัดใกล้สุด 1.5 เมตร ถึงแม้จะมีเป็นรหัสตัวเลขแทน ซึ่งเป็นระบบ รหัสใหม่ โดยมีรหัสว่า 11750 สำหรับเมาท์เกลียว จำนวนผลิต 3,200 ตัว เมาท์เขี้ยว รหัส 11,850 ผลิต 20,400 ตัว

เลนส์ Visoflex

กรอบกระจกสะท้อน PLOOT นั้นแต่เดิมมีไว้สำหรับ 200 มม. TELYT ในปี 1935 แต่เนื่องจาก Range Finder ไม่เที่ยงตรงสำหรับเลนส์ทางยาวสูง จึงมีการพัฒนาปรับปรุงเรื่อยมาจนกระทั่งได้รูปทรงกระบอกแทนรูปลูกบาศก์และเป็นที่รู้จักกันในนาม VISOFLEX มีอยู่ 2 รุ่น คือ สำหรับเมาท์เกลียว และสำหรับเมาท์เขี้ยว เลนส์รุ่นต่อๆ มา นอกจาก 200 มม. และ 400 มม. TELYT ทำเป็นเลนส์ทางยาวโฟกัสสั้นลงเพื่อใช้ประโยชน์จากระบบสะท้อนภาพ เลนส์ 90 และ 135 มม. สามารถติดกับโฟกัสเมาท์แบบสั้นพิเศษ หรือเลนส์บางตัวผลิตเป็นแบบเมาท์สั้นเลย

VISOFLEX II มีน้ำหนักและขนาดกะทัดรัดกว่ามี Optical Thickness ลดลงเป็น 40 มม. เพื่อให้เลนส์ 65 มม. หรือมากกว่าสามารถปรับระยะชัดได้ถึงระยะอนันต์ ได้ผลิตออกมาในปี 1959 ซึ่งการออกแบบนี้ทำให้สามารถใช้มือถือได้ และความคิดของ Leitz’s ในขณะนั้นเพื่อให้มีข้อได้เปรียบสำหรับ LEICA ทั้ง Range Finder และ SLR จนกระทั้งมีระบบวัดแสงผ่านเลนส์ มีการพัฒนาเป็น VISOFLEX III ในปี 1963

เลนส์ HEKTOR f2.5/125 มม. ออกแบบเฉพาะสำหรับ VISOFLEX จึงมีขายเฉพาะเมาท์สั้น (แต่สามารถใช้กับท่อ TZFOO และวิวไฟน์เดอร์เหมือนกับ 200 และ 400 มม. TTELYT เพื่อเลี่ยง VISOFLEX) เลนส์ HEKTOR ทำตั้งแต่ปี 1954 ถึง 1963 ใน Wetzlar รุ่นหลังๆ ทำใน Canada มุมรับภาพ 19 องศา รูรับแสงแคบสุด f22 ปรับระยะชัดใกล้สุด 1.2 เมตร รหัสชื่อ HIKOO จำนวน 3,300 ตัว

เลนส์ 200 มม. f4 TELYT ใหม่  ไวแสงกว่าเดิมเล็กน้อย และหนักกว่าออกมาในปี 1959 ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม มุมรับภาพ 12 องศา รูรับแสงแคบสุด f22 ปรับระยะชัดใกล้สุด 3 เมตร รหัสชื่อ TELOO 400 มม. F5 TELYT ออกแบบภายนอกใหม่สร้างขึ้นในปี 1955

เลนส์ 65 มม. f3.5 ELMAR สำหรับ VISOFLEX เกิดขึ้นในปี 1960 ครั้งแรกสร้างที่ Wetzlar จนถึง 1968 จากนั้นทำที่ Canada ออกแบบแบบ Classic ELMAR ประกอบด้วยชิ้นเลนส์ 4 ชิ้น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม มุมรับภาพ 37 องศา รูรับแสงแคบสุด f22 ปรับระยะชัดใกล้สุดได้อัตราส่วน 1:1 โดยมี bellow ช่วย รหัสชื่อ OCMOR ในปี 1961 เลนส์ 280 มม. f4.8 TELYT ได้ออกมาสำหรับ VISOFLEX II (และ VISOFLEXIII ซึ่งประสบความสำเร็จมาก) มุมรับภาพมากกว่า 9 องศา เล็กน้อย รูรับแสงแคบสุด f22 ปรับระยะชัดใกล้สุด 6 เมตร

เลนส์ TELYT 2 ตัว คือ 400 มม. F5.6 และ 560 มม. f5.6 ผลิตในปี 1967 เพื่อใช้กับ VISOFLEX และ TELEVIT ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทำให้ปรับระยะชัดได้เร็วขึ้น ใช้ชิ้นเลนส์ 2 ชิ้น เป็นแบบ Achromatic มีน้ำหนักน้อยมาก เมื่อเทียบกับเลนส์ขนาดเดียวกัน เลนส์ทั้งสองตัวมี Diaghragm เหมือนกันซึ่งถอดได้ มีรูรับแสงแคบสุด f32 400 มม. มีมุมภาพ 6 องศา ปรับระยะชัดใกล้สุด 6.6 เมตร ในปี 1970 ได้มีการออกแบบเลนส์ทั้ง 2 ตัวใหม่ แต่มีรูรับแสงต่างไป คือ f6.8 โดยมีม่านรูรับแสงภายใน รูรับแสงแคบสุด f32

การโฟกัสแบบเลื่อน ถูกทำให้เป็นส่วนหนึ่งของเมาท์เลนส์ ซึ่งผลิตสำหรับกล้อง Reflex ของ LEICA  VISOFLEX ขณะนี้ได้เลิกผลิตแล้ว รวมทั้งเลนส์ที่ใช้กับมันด้วย

เลนส์สำหรับ Leica M

35 มม. f1.4 SUMMILUX เกิดในปี 1961 เป็นเลนส์มุมกว้างที่ไวแสงมากและมีอายุการใช้งานยืนยาวสุดในจำพวกเลนส์รุ่นใหม่ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนเมาท์ตลอดอายุของมัน ครั้งแรกทำสำหรับ M3 โดยมีวิวไฟน์เดอร์ ผลิตใน Canada และมีแบบธรรมดาด้วย มุมรับภาพ 64 องศา รูรับแสงแคบสุด f16 ปรับระยะใกล้สุด 1 เมตร

ในปี 1963 มี 135 มม. f2.8 ELMARIT โดยมีช่องมองภาพติดกับตัวกล้องเหมือนกับ 35 มม. สำหรับ M3 แต่จุดประสงค์เพื่อขยายภาพสำหรับการปรับระยะชัดที่เที่ยงตรงและง่ายขึ้น ซึ่งมันเป็นกรอบของเลนส์ 90 มม. ในกล้อง และแสดงกรอบ 135 มม. ไว้แสดงว่าสามารถใช้กับกล้อง LEICA M ทุกรุ่น มุมภาพ 18 องศา รูรับแสงแคบสุด f32 ปรับระยะชัดใกล้สุด 1.5 เมตร

เลนส์เทเล 2 ตัว สร้างในปี 1965 คือ 90 มม. f2.8 TELE-ELMARIT  มุมภาพ 27 องศา รูรับแสงแคบสุด f16 ปรับระยะใกล้สุด 1 เมตร ออกแบบใหม่ในปี 1974 และ135 มม. f4 TELE-ELMARIT มุมภาพ 18 องศา รูรับแสงแคบสุด f22 ปรับระยะชัดใกล้สุด 0.7  เมตร

เลนส์ทุกตัวข้างบนรวมทั้งเลนส์ 35, 50, 90 มม. SUMMICRON และ 50 มม. SUMMILUX ยังคงมีผลิตอยู่ ในปี 1966 ได้มีการแนะนำเลนส์ 50 มม. f1.2 NOCTILUX ใช้เลนส์แบบ Gauss โดยมีชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม โดยมีเลนส์น้อยชิ้นที่สัมผัสอากาศ ซึ่งเป็นผลงานของห้องทดลองแก้วของ Leitz ผู้เชี่ยวชาญด้านเลนส์ และวิศวกรในการหาวิธีเจียรนัยเลนส์นี้ขึ้นในการผลิตจริง

เลนส์ NOCTILUX มีมุมรับภาพ 45 องศา รูรับแสงแคบสุด f16 ปรับระยะชัดใกล้สุด 1 เมตร ผลิตจนถึงปี 1976 แล้วถูกแทนที่โดยเลนส์ NOCTILUX f11 ซึ่งเลนส์ตัวใหม่นี้ไม่จำเป็นต้องมีชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม

กล้อง LEICA CL ในปี 1973 ได้ออกมาพร้อมเลนส์ใหม่ 2 ตัว ที่ใช้สำหรับมันคือ 40 มม. f2 SUMMICRON-C ซึ่งอยู่ระหว่าง 50 มม. กับ 35 มม. มุมภาพ 57 องศา รูรับแสงแคบสุด f16 ปรับระยะชัดใกล้สุด 0.8 เมตร

เลนส์ 90 มม. f4 ELMAR-C มุมภาพ 27 องศา รูรับแสงแคบสุด f22 ปรับระยะชัดใกล้สุด 1 เมตร ซึ่งเลนส์ทั้ง 2 ตัว นี้ใช้กับ LEICA M ได้

เลนส์อื่นที่ไม่ได้ผลิตโดย Leitz นอกจาก SUPER ANGULON ซึ่งทำสำหรับกล้อง LEICA M คือ 15 มม. f8 HOLOGON ทำโดย Zeiss เป็นเลนส์มุมกว้างมากๆ มีรูรับแสงคงที่ มุมภาพ 110 องศา ปรับระยะชัดใกล้สุด 20 เมตร ทั้งเลนส์และช่องมองภาพพิเศษได้เลิกผลิตไปนานแล้ว แต่มีราคาสูงมากในตลาดนักสะสมกล้อง

ตั้งแต่ทศวรรษซึ่งครบรอบ 50 ปี ได้มีสิ่งน่าสนใจ คือ ทางบริษัทได้แนะนำเลนส์รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการค้นคว้าแก้วชนิดใหม่และอุปกรณ์ในการคำนวณที่ดีขึ้น ซึ่งมี Computer ใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเลนส์สามารถผลิตเลนส์ใหม่ๆ ให้มีความเที่ยงตรงกว่าไวกว่าแต่ควรบันทึกไว้ว่า เลนส์ที่เบาขึ้นไม่ได้หมายถึงการขาดสิ่งใดไปเพียงแต่ว่าแก้วชนิดใหม่ ทำให้ผลิตเลนส์โดยใช้ชิ้นเลนส์น้อยลงแต่คุณภาพเท่าเดิมหรือดีขึ้น

อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว 50 มม. SUMMICRON ตัวใหม่ออกมาในปี 1979 พร้อมด้วย 35 มม. และ 28 มม. ELMARIT ใหม่ ในปี 1980 21 มม. SUPER ANGULON ได้ถูกแทนที่โดย 21 มม. f2.8 ELMARIT ในปีเดียวกันก็ได้ผลิต 90 มม. SUMMICRON ซึ่งเบาขึ้นและเบา 75 มม. f1.4 SUMMILUX ซึ่งไวแสงมาก

ระบบ LEICA M ในปัจจุบันประกอบด้วยเลนส์ 12 ตัว ความยาวโฟกัสตั้งแต่ 21 มม. ถึง 135 มม. ทุกตัวยกเว้น 21 มม. สามารถมองด้วยช่องมองภาพในกล้อง เลนส์ทางยาวสูง และต่ำกว่านี้ได้มีผลิตในระบบกล้องสะท้อนภาพของ LEICA ส่วนกล้อง Rangefinder ก็ปฏิบัติงานในช่วงที่เหมาะสมที่สุดของมัน

Leica Reflex Lenses

LEICAFLEX เป็นตัวแรกได้ออกมาพร้อมกับเลนส์ 6 ตัว ซึ่งเป็นที่รู้จักตามด้วยตัวอักษร R

เลนส์มาตรฐานตัวแรกสำหรับกล้องสะท้อนภาพ ทำในปี 1964 คือ 50 มม. f2 SUMMICRON-R รูรับแสงแคบสุด f16 มุมรับภาพ 45 องศา ปรับระยะชัดใกล้สุด 0.5 เมตร ผลิตจนกระทั่งปี 1976 ปลายปี แล้วถูกแทนที่ในปี 1977 ด้วยรุ่นใหม่มีเลนส์ 4 ตัว ในตระกูล ELMARIT ทั้งหมด รูรับแสง f2.8 คือ 35 มม., 90 มม., 135 มม. และ 180 มม. และมีเลนส์มุมกว้างพิเศษ 21 มม. f3.4 SUPER ANGULON-R จาก Schneider ซึ่งไม่ใช่เลนส์ retro-focus จึงต้องใช้การเปิดกระจกสะท้อนขึ้นแล้วใช้ไฟน์เดอร์พิเศษ (เหมือนที่ใช้ในกล้อง M)

SUPER ANGULON รุ่นใหม่ออกมาปี 1969 สามารถสะท้อนภาพทั้งหมดได้ในการใช้งานปกติ มีความซับซ้อนมาก 10 ชิ้นเลนส์ 8 กลุ่ม รูรับแสงกว้างสุด f4 แคบสุด f22 มุมภาพ 92 องศา ปรับระยะชัดใกล้สุด 0.2 เมตร

35 มม. f2.8 ELMARIT-R มีมุมภาพ 64 องศา รูรับแสงแคบสุด f22 ปรับระยะชัดใกล้สุด 0.3 เมตร หลังจากที่ LEICAFLEX SL ออกมาในปี 1968 เลนส์เหล่านี้ได้ถูกปรับปรุงระบบควบคุมขนาดรูรับแสง ซึ่งมีเขี้ยวตัวที่สองสำหรับควบคุมระบบวัดแสง

เลนส์ 90 มม. f2.8 ELMARIT-R มีมุมภาพ 27 องศา รูรับแสงแคบสุด f22 ปรับระยะชัดใกล้สุด 0.7 เมตร ประกอบด้วยชิ้นเลนส์ 5 ชิ้นเลนส์ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

เลนส์ 135 มม. f2.8 ELMARIT-R มีมุมรับภาพ 18 องศา รูรับแสงแคบสุด f22  ปรับระยะชัดใกล้สุด 1.5 เมตร

ท้ายสุดคือเลนส์ 180 มม. f2.8 ELMARIT-R มุมภาพ 14 องศา รูรับแสงแคบสุด f16 ปรับระยะชัดใกล้สุด 2 เมตร ในปี 1969 มีการผลิต TELYT 2 ตัว คือ 400 มม. และ 560 มม. ใช้เมาท์สำหรับ LEICAFLEX ซึ่งรูรับแสงไม่ได้หรี่อัตโนมัติเหมือนกับเลนส์ที่ต่ำกว่า 180 มม. ภายหลัง TELYT ทั้งสองตัวเปลี่ยนเป็น f6.8 และทำสำหรับ LEICAFLEX และยังผลิตอยู่ในปัจจุบัน

เลนส์ใหม่สำหรับ LEICAFLEX SL ได้แก่ 28 มม. f2.8 ELMARIT-R มุมภาพ 76 องศา รูรับแสงแคบสุด f22 ปรับระยะใกล้สุด 0.3 เมตร 50 มม. f1.4 SUMMILUX-R มุมภาพ 45 องศา รูรับแสงแคบสุด f16 ปรับระยะชัดใกล้สุด 0.5 เมตร 90 มม. F2 SUMMICRON-A เปิดตัวในปี 1970 มุมรับภาพ 27 องศา รูรับแสงแคบสุด f16 ปรับระยะใกล้สุด 0.7 เมตร ในปีเดียวกันนั้นมีเลนส์ 2 ตัว ทำเพื่อ LEICAFLEX โดยผู้ผลิตอื่นคือ 35 มม. f4 PACUARAGON โดยเป็น perspective control รูรับแสงแคบสุด f22 ปรับระยะใกล้สุด 0.3 เมตร ตัวที่สองคือ ซูม 45-90 มม. f2.8 ANGENIEUX มุมภาพ 51 องศาถึง 27 องศา รูรับแสงแคบสุด f22 ปรับระยะชัดใกล้สุด 1 เมตร

ในปี 1972 มี 60 มม. f2.8 ELMARIT-R เป็นเลนส์มาโคร รูรับแสงแคบสุด f22 มุมรับภาพ 39 องศา เลนส์มาโครจริงๆ แล้วเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1970 คือ 100 มม. f4 MACROELMAR ใช้กับ Bello มุมภาพ 24.5 องศา รูรับแสงแคบสุด f22

ปี 1973 ในแคตตาล็อกมีเลนส์ใหม่ 3 ตัว คือ 35 มม. f2 SUMMICRON-R และ 250 มม. f4 TELYT-R ทำในแคนนาดา SUMMICRON มีมุมภาพ 64 องศา รูรับแสงแคบสุด f16 ปรับระยะใกล้สุด 0.3 เมตร TELYT มีมุมภาพ 10 องศา รูรับแสงแคบสุด f22 ปรับระยะชัดใกล้สุด 4.5 เมตร ส่วนอีกตัวคือ 800 มม. f6.3 TELYT-S ซึ่งเป็นเลนส์ใหญ่สุดในบรรดาเลนส์ Leitz มุมภาพ 3 องศา รูรับแสงแคบสุด f32 ปรับระยะชัดใกล้สุด 12.5 เมตร หนัก 6.86 กก. (ประมาณ 15 Ib.)

ในปี 1975 เลนส์ใหม่หลายตัวได้ออกมาคือ 16 มม. f2.8 Fisheye-ELMARIT-R ประกอบด้วยระบบ 4 ฟิลเตอร์ ซึ่งสามารถหมุนให้เข้าสู่ทางเดินของแสงได้มุมภาพด้านทแยง 180 องศา ครอบคลุม 24x 36 มม. เต็มเฟรม ซึ่งต่างจากเลนส์ถูกๆ รูรับแสงแคบสุด f16 ปรับระยะชัดใกล้สุด 0.3 เมตร

เลนส์ 24 มม. f2.8 ELMARIT-R เป็น เลนส์ตัวแรกในช่วงที่เป็น LEICA FLEX ที่ใช้ชิ้นเลนส์ลอยตัวเพื่อปรับปรุงคุณภาพเมื่อปรับระยะชัดใกล้ใกล้ ซึ่งทำได้ 0.3 เมตร รูรับแสงแคบสุด f22

เลนส์ 80-200 มม. f4.5 VARIOELMAR ทำโดย Minalta แล้วดัดแปลงให้เข้ากับ LEICAFLEX มีกระบอกเลนส์เดี่ยว ซึ่งใช้ควบคุมทั้งปรับระยะชัด และเปลี่ยนทางยาวโฟกัสมุมภาพ 30 องศา ถึง 12 องศา รูรับแสงแคบสุปด f22 ปรับระยะชัดใกล้สุด 1.8 เมตร

เลนส์ใหม่ 3 ตัว นี้ใช้ได้เฉพาะ LEICAFLEX SL2 และ R3 และ R4 เนื่องจากความแตกต่างของพื้นที่ภายในที่แทนที่ด้วยกระจกสะท้อนภาพ