https://drive.google.com/drive/u/3/folders/1shoRojIS_C7NRQNuNv-4QETL-DdSV3Jv

สามารถซื้อหนังสือออนไลน์ได้บน ookbee

http://www.ookbee.com/Shop/Magazine/CAMERARTMAGAZINE

TEST REPORT

SONY Alpha 7R IV

ผมได้รับกล้อง Sony Alpha 7 R IV พร้อมด้วยเลนส์ Sony 2 ตัว คือ FE 24-70 mm. F2.8 GM และ FE 100-400 mm F 4.5-5.6 GM OSS เพื่อลองทดสอบสมรรถนะของกล้องรุ่นนี้เป็นเวลา 2 อาทิตย์ แต่ช่วงเวลาที่รับกล้องรุ่นนี้มาดูจะโชคไม่ค่อยดี สภาพแสงทั่วไปของบ้านเราเจอแต่ฝนมาตลอด แต่ก็ดีไปอย่างครับ ที่จะเป็นโอกาสในการรีดสมรรถนะของกล้องออกมาให้สุดๆ กันไปเลย

ผมเลือกการถ่ายภาพทดสอบครั้งนี้ ด้วยการถ่ายภาพหุ่นละครเล็ก ของ นาฏยศาลา หุ่นละครเล็กโจหลุยส์ เป็นการถ่ายภาพแบบ จัดแสงถ่ายภาพ อย่างหนึ่ง และการแสดงที่เป็นแสงสีของเวทีการแสดงอย่างหนึ่ง สำหรับการถ่ายภาพนอกสถานที่นั้น เลือกการถ่ายภาพกับการซ้อม ขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ของทางกองทัพเรือ ซึ่งครั้งแรกที่ไปโชคไม่ดีเอาเสียเลย  เจอทั้งฝน และกระแสน้ำ ที่เป็นอุปสรรคในการซ้อม เลยต้องรอไปอีกครั้ง ซึ่งก่อนเริ่มต้นก็ฝนตกอีก นึกว่าแห้วแล้ว แต่หลังฝนตก การซ้อมขบวนเรือก็เริ่มต้น แม้สภาพอากาศจะไม่ดีนัก แต่ก็ได้ภาพที่น่าพอใจที่จะนำมาเล่าให้ฟังได้ครับ

 

SONY RX100 VII

เมื่อเร็วๆ นี้ หลายคนคงได้ข่าวเกี่ยวกับกล้องตัวเล็ก (ที่สเปกไม่เล็ก) Sony RX100 VII กล้องคอมแพคจากค่ายโซนี่กันมาบ้างแล้วนะครับ และหลังจากที่ผมได้มีโอกาสลองใช้งานกล้อง Sony RX100 VII มาสักระยะหนึ่ง จึงมีบทสรุปมาให้ผู้ที่สนใจกล้องตัวนี้ได้พิจารณากันครับ

กล้อง Sony RX100 VII นับเป็นกล้องซีรี่ยส์ที่ 7 ในรุ่นของกล้อง Sony RX100 จัดอยู่ในกล้องระดับคอมแพคที่มีความน่าสนใจมาตั้งแต่ 6 รุ่นก่อนหน้า และจนถึงวันนี้กับ Sony RX100 VII เรามาดูไปพร้อมกันครับ ว่าความน่าสนใจของกล้องตัวนี้มันเป็นอย่างไรกัน และที่หลายๆ คนพูดถึงว่ามันจิ๋วแต่แจ๋วนั้น จะเป็นอย่างที่เขาว่ากันไหมครับ

 

PHOTO TECHNIQUE

Instagram และสัดส่วนภาพแบบ 1:1

อันที่จริงแล้วสัดส่วนของภาพแบบ 1:1 นี้มีมาให้เห็นกันนานแล้วนะครับ ในสมัยยุคฟิล์มโดยสัดส่วนขนาดภาพแบบนี้ จะใช้ในกล้อง medium format ของ Hasselblad ซึ่งใช้ฟิล์ม 120 ให้ภาพขนาด 6×6 cm. (จึงมีการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า format 6×6) ด้วยเสน่ห์ของกรอบภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัส ของขนาดสัดส่วนภาพ 1:1 ทำให้ภาพไม่มีแนวตั้งและแนวนอน มีผู้ที่ชื่นชอบกรอบภาพแบบนี้มากมาย ด้วยอิสระในการนำภาพไปใช้งาน บนพื้นที่ฟิล์มขนาดใหญ่ ทำให้ช่างภาพโฆษณาหลายคนใช้กล้องที่ให้สัดส่วนภาพแบบ 1:1 เพื่อสามารถเลือกตัดส่วนภาพจะเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนในภายหลังได้ หรือแม้แต่การนำไปใช้ในงานดีไซน์ที่กราฟิกจะเลือกตัดส่วนภาพได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

 

Understanding Focal Length

ทางยาวโฟกัส Focal Length นั้นจะเป็นสิ่งที่บอกถึงคุณสมบัติของเลนส์ เราจะเรียกเลนส์แต่ละตัวจากค่าทางยาวโฟกัสของเลนส์ตัวนั้น เช่น เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสที่ 50 มิลลิเมตร ก็หมายถึง เลนส์ 50 มม. ค่าตรงนี้มาจากไหน มันไม่ใช่ค่าที่วัดจากความยาวของเลนส์แน่ๆ แต่ทางยาวโฟกัสนี้มาจากระยะทางจากจุดศูนย์กลางโฟกัสของเลนส์ ถึง focal plane หรือ ระนาบโฟกัสของเซ็นเซอร์รับภาพ เมื่อเลนส์โฟกัสที่ระยะอนันต์ หรือ infinity นั่นเอง

 

TRAVEL

นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ถือว่าเป็นเมืองท่าสำคัญทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซีย ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำเนวา ริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก

พระเจ้าซาปีเตอร์มหาราช ของรัสเซีย เป็นผู้ที่ทรงสร้างเมืองนี้ในปี ค.ศ. 0703 ด้วยเล็งเห็นว่า เป็นจุดที่สามารถเดินทางออกทะเลบอลติกได้ง่าย ทำให้การเดินทางเชื่อมต่อกับยุโรป และประเทศต่างๆ สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งในเวลานั้น พระเจ้าซาปีเตอร์มหาราช ทรงมีพระประสงค์ที่จะทำการปฏิรูปรัสเซียให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศต่างๆ ในยุโรป 

แต่พื้นที่เดิมของนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เป็นดินเลนที่อ่อนนุ่ม ดังนั้นการสร้างตัวเมืองจึงต้องทำการถมหิน และทราย เป็นจำนวนมหาศาลเพื่อนำพื้นที่มาสร้างตัวเมือง 

นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เคยได้รับสมญานามว่า หน้าต่างแห่งยุโรป และยังเคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิ์รัสเซีย เป็นเวลาถึง 206 ปี จึงย้ายเมืองหลวงไปมอสโคว์

 

MISCELLANEOS

หน้าต่างสมาชิก

กลับจากงานเดินสายแล้วอาจารย์นพของเรา ผู้ที่ชอบเป็นครูอยู่ในจิตวิญญาณเลยก็ว่าได้พยามหาโอกาส และสนามฝึกถ่ายภาพให้เหล่าสมาชิก CAMERART อยู่เสมอๆ ด้วยที่ อาจารย์นพ ของเราเป็นรองประธานมูลนิธิภาพถ่ายแห่งประเทศไทย และกองทัพเรือ ฝ่ายประธานอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ได้เชิญมูลนิธิภาพถ่ายแห่งประเทศไทย เพื่อเก็บภาพขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะให้สมาชิกของเราบางส่วนได้มีโอกาสเข้าไปเก็บภาพ ขบวนเรือพระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ทั้งในวันซ้อมและวันจริง ซึ่งเริ่มมีการซ้อมไปแล้วถึง 3 ครั้ง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม อาจารย์นพ เลยชวนกัน

 

ภาพไม่ชัด!!!…ภาพไหว!!!…ภาพเคลื่อนไหว…

เรื่องของภาพถ่าย…มีเรื่องให้คุยกันได้ตลอด…ยิ่งในวงการประกวดภาพถ่ายยิ่งมีเรื่องราวคุยกันไม่รู้จบ…แต่เรื่องหนึ่งที่นักถ่ายภาพรุ่นใหม่ ที่เริ่มเข้าประกวดภาพถ่าย  อาจจะมองข้าม ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องของ  “หัวข้อการประกวด” นั่นคือ “คุณภาพความคมชัดของภาพถ่าย” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง…การตัดสินว่า “ภาพไหนเป็นภาพไหว ภาพไหนเป็นภาพเคลื่อนไหว”

บริบทเบื้องต้นของการถ่ายภาพ นั่นคือ “ภาพถ่ายต้องมีความคมชัด” แต่นักถ่ายภาพก็มีความคิดสร้างสรรค์ที่นอกเหนือจากการถ่ายภาพให้ชัด ด้วยการพัฒนาการถ่ายภาพให้มีความสร้างสรรค์ที่มากยิ่งขึ้น ด้วยการผสมผสานความคมชัดของภาพถ่าย กับ ความไวชัตเตอร์ เกิดเป็นมิติใหม่ของการถ่ายภาพนั่นคือ “ภาพเคลื่อนไหว”…ศิลปะของการถ่ายภาพได้รับการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา กรรมการตัดสินภาพเอง… ก็ต้องมีพัฒนาการในการตัดสินภาพที่มากยิ่งขึ้นเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการถ่ายภาพให้ชัด ก็ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญเกี่ยวกับคุณภาพของภาพถ่าย…

 

รำลึกและเชิดชูเกียรติ อ.พูน เกษมจำรัส

เมื่อข้าพเจ้าเข้าเป็นนักศึกษาแผนกช่างภาพรุ่นที่ 8 วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ข้าพเจ้าก็เป็นลูกศิษย์อาจารย์พูน เกษจำรัส ขณะนั้นท่านเป็นหัวหน้าแผนกช่างภาพที่ช่างภาพ มีการเรียนในระดับวิชาชีพ (3 ปี) เรียก ปวช. และต่อในระดับวิชาชีพชั้นสูง เรียก ปวส. อีก 2 ปี จะได้เทียบระดับอนุปริญญา ปวช. ปีที่ 1 ในขณะนั้น มีวิชาชีพถ่ายภาพปฏิบัติ 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เรียนเป็น 3-4 วัน เป็นทฤษฏี 2 ชั่วโมง ปฏิบัติ 13 ชั่วโมง จำได้ว่าอาจารย์พูนสอนทฤษฏี สอนเรื่องกล้อง ฟิล์มอย่างละเอียดและให้งานที่ทำในวิชาปฏิบัติที่อาจารย์ท่านอื่นเป็นผู้สอน ต้องทำงานมาส่งวิจารณ์ในสัปดาห์ถัดไป อาจารย์จะวิจารณ์เกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบ คุณภาพของการอัด-ขยายรูป สอนวิธีแก้ไขถ้ามีข้อบกพร่อง นำงานที่แก้ไขมาให้ดูเปรียบเทียบในสัปดาห์ต่อไป ในชั่วโมงก่อนการสอน อาจารย์จะเล่าเรื่องอื่นๆ ที่อาจารย์พบมาเล่าให้ฟัง