เรื่อง : นพดล

บทความนี้มาจาก Camerart Magazine 252/2018 September

Factory Camera

Factory Camera ในที่นี้หมายถึงกล้องที่ Leitz เก็บไว้ใช้งานเอง ซึ่งไม่มีใครได้ไปสะสมถึงแม้จะเชื่อกันว่า “กล้องบางตัวที่ยังไม่ได้ดัดแปลงอาจจะถูกขายให้พนักงานในโรงงาน” ซึ่งก็มีน้อยมาก

กล้อง “Null Serie” ประกอบด้วยกล้องต้นแบบ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อพิจารณาการออกแบบ และเพื่อให้ได้รายละเอียดของกล้องจริง รวมทั้งความสามารถในการผลิตก็จะได้รับการพิจารณาในขั้นนี้ด้วย กล้องในรุ่นนี้บางตัวจะส่งให้ช่างภาพอาชีพทดสอบและพิจารณา ซึ่งปกติจะมี Serial No. พิเศษ แตกต่างจากกล้องที่ผลิตขาย ตัวอย่างเช่น เลข 4 ตัว ซึ่ง 2 ตัวแรกเป็น 0 ในกรณีของ M3 และ เลข 4 ตัว ตามด้วยดอกจันในกรณีรุ่น MP

กล้อง “Betriebs” เป็นกล้องใช้งานในโรงงานเพื่อการถ่ายภาพหรือการทดสอบมีรอยสลักด้านบนว่า “Be-triebsk” มาจาก “Betriebskamera” หรือ “Works Camera” และจะมี Serial No. พิเศษ เป็นเลข 3-4 หลัก

“Betriebsk” ที่ถูกสลักไว้บนกล้อง IIIc ด้านบนของตัวกล้องและภายในตัวกล้อง

กล้องอีกตัวหนึ่งถูกสลักไว้ว่า “Leitz Eigentum” (Leitz property) ที่ด้านหลังของแผ่นปิดด้านบน กล้องนี้ใช้สำหรับนำออกไปถ่ายนอกสถานที่ โดยพนักงานหรือคนนอก เพื่อทดสอบเลนส์หรือฟิล์ม รวมทั้งยังมีการกู้ยืมออกไปเพื่อการสาธิตหรือ เพื่อแทนกล้องของลูกค้าที่นำเข้ามาซ่อม

ท้ายสุดก็มีกล้องที่สงวนไว้สำหรับกู้ยืม ซึ่งสลักไว้ว่า “Leith-Kamera” (Ioan camera) บนด้านหลังของแผ่นปิดด้านบน ซึ่งตัวแทนจำหน่ายจะมีกล้องสำหรับกู้ยืมซึ่งสลักไว้อย่างนี้เช่นกัน

เครื่องขับเคลื่อนฟิล์มอัตโนมัติ

ก่อนและหลังที่ Leica ได้ถือกำเนิดขึ้นมา มีความพยายามที่จะผลิตกล้อง 35 มม. ขับเคลื่อนฟิล์มอัตโนมัติ ซึ่งสามารถใส่ฟิล์มได้มากเลย ทำงานได้รวดเร็ว จึงได้มีการค้นคว้าในการหาแนวทางที่เป็นไปได้ที่จะขึ้นฟิล์ม และความไวชัตเตอร์ได้รวดเร็ว และง่ายขึ้น ในช่วงแรกๆ มีชิ้นส่วนซึ่งสร้างโดยผู้ผลิตอีกบริษัทหนึ่ง ซึ่งอุปกรณ์นี้รู้จักในนาม “Rapido” ซึ่งสามารถเข้าได้กับที่หมุนขึ้นฟิล์มและมีขดลวดเหล็ก ซึ่งมีแหวนสำหรับดึงเพื่อความเร็วในการขึ้นฟิล์ม แต่ไม่นานก็ถูกลบเลือนไปเนื่องจาก Leitz ได้แนะนำแผ่นฐานพิเศษ ซึ่งสามารถเปลี่ยนกับแผ่นฐานปกติ แผ่นฐานนี้ประกอบด้วยตัวหมุนซึ่งส่งแรงโดยสปริง และสามารถกระตุ้นการทำงาน โดยมีไกที่จะเลื่อนภาพ 1 ภาพ โดยใช้จังหวะเดียว จะสามารถขึ้นไกนี้ได้โดยใช้นิ้วชี้มือซ้าย และปล่อยไกโดยใช้นิ้วชี้ขวาทำให้สามารถใช้กล้องได้ง่าย และรวดเร็ว รหัสของอุปกรณ์นี้คือ SCNOO ซึ่งLEICA IIIc รุ่นสุดท้ายทำในลักษณะนี้

แนวความคิดอีกลักษณะหนึ่งได้เกิดขึ้น หลังจากการแนะนำตัวของอุปกรณ์ชื่อ OOFRC ซึ่งใช้สายลั่นไก และการขึ้นฟิล์มได้อย่างสะดวก โดยใช้สายซึ่งสายเส้นหนึ่งจะกระตุ้นระบบขึ้นฟิล์ม ส่วนอีกสายใช้ลั่นชัตเตอร์ (อุปกรณ์นี้ออกแบบเพื่อใช้กับกล้อง ในที่ซึ่งยากต่อการถ่ายด้วยมือ เช่น ในขั้นตอนของอุตสาหกรรมบางชนิดหรือถ่ายภาพสัตว์ป่า) ในการใช้งานอุปกรณ์ขึ้นกับความคล่องแคล่วและความชำนาญของผู้ถ่าย ซึ่งกล้องนี้สามารถถ่ายภาพได้หลายภาพในเวลาอันสั้น แต่ความอัตโนมัติมิได้เกิดขึ้นจนกระทั้งการผลิต MODLY ซึ่งเป็นระบบมอเตอร์นาฬิกา มีการผลิตในปริมาณน้อยตั้งแต่ ปี 1938 จนถึงหลังสงคราม มอเตอร์นี้มีความแข็งแรงและเที่ยงตรง ซึ่งสามารถเลื่อนภาพได้ 12 ภาพ ในการหมุน 1 รอบของสปริง ใช้เวลาประมาณ 9 วินาที ซึ่งมีที่นับภาพและส่วนต่อด้านนอก สำหรับกดชัตเตอร์

มอเตอร์บางตัวมีปุ่มสำหรับเลือกความเร็วของการหมุนได้ 2 ระดับ ซึ่ง LEICA IIIc รุ่นหลัง ได้ผลิตปุ่มสำหรับลั่นชัตเตอร์ภายในด้วย ในตอนเริ่มแรกมอเตอร์ได้ผลิตสำหรับกล้องลำตัวสั้นรุ่น III, IIIa และ IIIb ในระยะหลังได้ผลิตสำหรับกล้องลำตัวยาว รุ่น IIIc ด้วย ซึ่งในการผลิตเป็นสีเงิน และผลิตสีดำเป็นพิเศษสำหรับรุ่น IIIc ฉะนั้นจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างออกไป

จากบนไปล่าง, ฐานล่าง “SCNOO” สำหรับ IIIa และ IIIb,”LEICAVIT” สำหรับ IIIc, “LEICAVIT MP” สำหรับ MP M1 และ M2, MOOLY สำหรับ IIIc

“MOOLY” มีความเร็ว 2 ระดับ

“MOOLY” แสดงชิ้นส่วนภายใน

อุปกรณ์ขึ้นฟิล์มแบบเร็วชื่อว่า LEICAVIT สร้างหลังสงคราม มีความคล้ายคลึงกับรุ่น SCNOO ก่อนสงคราม ซึ่งสร้างขึ้นให้สามารถใช้ได้กับกล้องทุกรุ่นที่เป็นลำตัวยาวของ IIIc No. 400000 ขึ้นไปมีรหัสว่า SYOOM ซึ่งมีความโค้งมนมากกว่ารุ่นก่อน และ ที่ลั่นไกถูกเก็บไว้อย่างดีในฐาน LEICAVIT MP รุ่นใหม่ได้สร้างขึ้นสำหรับ LEICA MP ในช่วงหลังถูกใช้ให้เป็นอุปกรณ์สำหรับ M2 และ M1 และใช้รหัสว่า SMYOM

มอเตอร์ไดร์ฟระบบไฟฟ้าสำหรับ LEICA เป็นเรื่องเก่าตามปกติ Leitz เป็นบริษัทแรกๆ ที่มีการริเริ่ม มอเตอร์ไดรฟ์ไฟฟ้าและมีกล้องที่เหมาะสมสำหรับทดลองนี้คือ รุ่น LEICA 250 ก่อนและระหว่างสงครามมีการผลิตมอเตอร์ไดร์ฟสำหรับขาย ซึ่งเปลี่ยนกับฐานตัวกล้องและรับพลังงานงานจากภายนอก มีมอเตอร์หลายแบบ คือ 6 โวลท์, 12 โวลท์, 24 โวลท์  สำหรับรุ่น 6 โวลท์ โดยมากผลิตสำหรับกองทัพเป็นกล้องระวังภัย สามารถทำงานโดยอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่รถมอเตอร์ไซด์ ในกรณีนี้กล้องต้องได้รับการดัดแปลงให้มีแกนประกอบกับปุ่มกดชัตเตอร์ภายใน

กล้อง LEICA 250 ที่มีระบบเคลื่อนฟิล์มไฟฟ้า สามารถใช้ในเครื่องบินทั้งแบบอัตโนมัติกับแบบวงซึ่งมีมอเตอร์ไดรฟ์มีปุ่มสำหรับขับฟิล์มต่อเนื่องหรือเลื่อนทีละรูป

มอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับรุ่น 250 ได้รับการผลิตแรกเริ่มมีที่ลั่นชัตเตอร์ภายนอกเหมือน  MOOLY รุ่นหลังเป็นที่ลั่นชัตเตอร์ภายในเหมือนมอเตอร์นาฬิกาในรุ่น LEICA IIIc กล้องที่ดัดแปลงสำหรับมอเตอร์ไดร์ฟมีวงล้อเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการสัมผัสของฟิล์มกับแผ่นกดฟิล์ม เป็นเรื่องปกติสำหรับมอเตอร์ที่มีตัวเลขของกล้อง และใช้กับมอเตอร์นั้นอยู่บนแผ่นปะกบนอกเหนือจากเลขของมันเอง

มอเตอร์แบบลานนาฬิการุ่นแรกๆ

LEICA 250 กับมอเตอร์ไฟฟ้า

หลังสงคราม มีความต้องการของนักหนังสือพิมพ์กับกลุ่มอื่นที่จะให้ Leitz ผลิตมอเตอร์ไดร์ฟให้เหมาะสมกับกล้อง Leitz ก็ไม่ได้กระตือรือล้นในตอนต้น แต่ก็ได้มีคำตอบในทางปฏิบัติมาจากอเมริกา ตอนแรกได้ดัดแปลง M2 ต่อมาดัดแปลง M4 หลังจากนี้ผลปรากฏว่ามอเตอร์ไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมสำหรับกล้อง LEICA จึงมีการผลิตโดย Leitz ที่ New York โดยตัวกล้องทำเป็นพิเศษใน Wetzlar ส่วนมากเป็นรุ่น LEICA M4 แต่ก็มี LEICA M2 บ้าง โดยจะมีเครื่องหมาย M2-M, M4-M หรือ M4 MOT มอเตอร์ของอเมริกามีความกะทัดรัดมากสามารถติดตั้งได้ตัวกล้อง อีกทั้งมีแบตเตอรี่แพค และสามารถปรับความเร็วได้ 2 ระดับ

สำหรับ MP2 ได้มีการออกแบบระบบมอเตอร์นอกเหนือจาก LEICAVIT ซึ่งต้นแบบบางตัวทำที่ Wetzlar โดยมีที่ใส่แบตเตอรี่เป็นแท่ง (ดังรูป) ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญของ Leitz ได้ยุ่งอยู่กับการออกแบบมอเตอร์สำหรับ LEICAFLEX ได้ทดลองสร้างต้นแบบขึ้น แต่ไม่ได้ลงในสายการผลิตเนื่องจากหลังจากที่ตัวกล้องได้รับการดัดแปลงนั้น มีความต้องการกล้องในรุ่นต่อไป ฉะนั้นมอเตอร์ไดร์ฟของ Leitz ตัวแรก คือ LEICAFLEX SL.

ข้อได้เปรียบของ SL MOT คือสามารถถอดเปลี่ยนได้โดยไม่ส่งผลต่อฟิล์ม และสามารถเปลี่ยนฟิล์มได้โดยไม่ต้องถอดไดร์ฟออก รังถ่านก็มีหลายชนิดสามารถเปลี่ยนได้ง่าย รังถ่านมีตั้งแต่ชนิดใช้กับถ่าน AA จนถึง nickel-cadmium ที่ประจุไฟใหม่ได้ หรือสามารถต่อสายกับแหล่งพลังงานภายนอกที่ใหญ่ก็ได้ มอเตอร์ไดร์ฟของ LEICAFLEX มีความทนทานและความเร็วสูง เนื่องจากต้องการกำลังเพิ่มในการเคลื่อนกระจกสะท้อนภาพ ผู้ผลิตได้ประกันความเร็วที่ 4 รูปต่อวินาที แต่ 5 รูปต่อวินาที ก็สามารถทำได้ถ้ามีแบตเตอรี่ที่ดี มอเตอร์ของ LEICA มี 2 แบบ รุ่นแรกไม่สามารถเคลื่อนทีละภาพได้ แต่ต่อมามีปุ่มเลือกระบบขับเคลื่อนฟิล์มได้

มอเตอร์ไดร์ฟ ทำให้กล้องมีคุณค่ามากขึ้นสำหรับนักถ่ายภาพกีฬาหรืองานทางเทคนิค เช่น ถ่ายการทดลองการชนกันของรถ เครื่องควบคุมการทำงานระยะไกลก็เป็นอีกอุปกรณ์หนึ่งที่คู่กับมอเตอร์ไดร์ฟ โดยการกดชัตเตอร์อัตโนมัติหรือใช้สัญณาณวิทยุระยะไกล ซึ่งระบบนี้มีประโยชน์มาก เนื่องจากในระยะแรกที่เครื่องควบคุมระยะไกลแบบกลไกจำเป็นต้องใช้สายที่มีสีต่างกันเพื่อกันการผิดพลาด

ไลก้า M4-M กับ ELeitz New York Motor

ด้านบนตัวกล้องของ LEICA M2-M, M4-M, M4-MOT จากล่างขึ้นบน แสดงจุดสัมผัสไฟฟ้า

อุปกรณ์คู่พิเศษชนิดหนึ่งได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ LEICAFLEX SL MOT 2 ตัว สามารถใช้งานคู่กัน โดยสามารถถ่ายภาพได้ 6-7 ภาพต่อวินาที LEICAFLEX SL2 MOT ก็สามารถใช้มอเตอร์เดียวกันและใช้อุปกรณ์คู่พิเศษได้

ในปลายทศวรรษที่ 70 กล้องใหม่ๆ ที่ออกมา จะต้องสามารถติดมอเตอร์ไดร์ฟได้กล้อง rangefinder ตั้งแต่รุ่น M4-2 เป็นต้น สามารถติดไวน์เดอร์ไดร์ฟ โดยใช้เขี้ยวภายในมีหมายเลขประจำตัว 14214 ใช้พลังจากถ่าน  AA 4 ก้อน หลังจากนั้นมอเตอร์รุ่นที่ 2 ก็ตามออกมาโดยมีลักษณะคล้ายกันและสามารถเปลี่ยนทดแทนกันได้แต่มีระบบอิเลคโทรนิคภายในทำให้ทำงานดีขึ้น และสามารถถ่ายต่อเนื่องได้ (รุ่นแรกต้องกดชัตเตอร์ทุกรูป) ท้ายสุดออกมาพร้อม M6 ได้ผลิตให้มีรูสำหรับขาตั้งกล้องซึ่งมีเกลียว ¼ นิ้ว

TANDEM LEICAFLLEX

กล้องแบบ Single Lens Reflex ก็มีมอเตอร์ไดร์ฟเช่นกัน โดยรุ่น R3 มีมอเตอร์ไดร์ฟรุ่นพิเศษ ซึ่งสามารถถ่ายได้ด้วยความไวถึง 2 รูปต่อวินาที โดยใช้ถ่าน AA 6 ก้อน รวมทั้งยังมีมือจับ ระบบรองรับขาตั้งกล้องรีโมท คอนโทรล และมีที่นับจำนวนภาพ และสามารถตั้งโปรแกรมหน่วงระหว่างภาพได้

ทั้ง LEICA R4 และ LEICA R4-3  ได้ถูกออกแบบให้รองรับได้ทั้งไวน์เดอร์ หรือ มอเตอร์ไดร์ฟ ซึ่งจุดสัมผัสของระบบไฟฟ้าของ LEICA R4 มีความง่ายกว่า LEICA R3 คือ มี 3 จุด (LEICA R3 มี 4 จุด) ไวน์เดอร์ใช้ถ่าน AA 6 ก้อน ความเร็ว 2 ภาพต่อวินาที มีขนาดเล็กกว่าและเบากว่าส่วนมอเตอร์ไดร์ฟใช้ถ่าน AA 10 ก้อน สามารถเลือกความเร็วได้คือ แบบทีละภาพ หรือต่อเนื่อง 2 ภาพ ต่อวินาที หรือต่อเนื่อง ประมาณ 4-5 ภาพต่อวินาที ระบบอิเลคโทรนิคในตัวมอเตอร์มีความน่าสนใจที่ว่าเมื่อมอเตอร์ไดร์ฟติดกับกล้องจะไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ในตัวกล้อง ซึ่งสะดวกกว่าโดยเฉพาะในกรณีถ่ายภาพในที่เย็น

มอเตอร์ไดร์ฟรุ่นใหม่ เล็กและเบากว่า สามารถติด้ามจับได้

มอเตอร์ไดร์ฟของ R4

กล้อง Leica 3 มิติ

การถ่ายภาพเพื่อให้ได้ภาพ 3 มิติ นั้นมีความนิยมในสมัยหนึ่ง Leitz ได้ผลิตอุปกรณ์บางชิ้นในการนี้ ที่ง่ายที่สุด คือ Stereo slide bar มีรหัสว่า FIATE ทำในปี 1929 เป็นคานยาว 150 มม. สามารถติดกับขาตั้งกล้องได้ และมียางเลื่อนซึ่งใช้ติดกล้องจึงสามารถถ่ายภาพแล้วเลื่อนกล้องไปประมาณ 70-75 มม. แล้วถ่ายอีกภาพหนึ่งของวัตถุเดียวกัน แล้วใช้กล้อง 2 ตา ส่องดูจะได้ภาพ 3 มิติ ที่แท้จริง เนื่องจากถ่ายจากระยะห่างเท่ากับระยะห่างของตา 2 ข้าง แต่การใช้งานสามารถถ่ายเฉพาะภาพนิ่งได้

กล้อง Dopple ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ แต่ไม่ได้รับการผลิตอย่างไรก็ตาม กล้องต้นแบบนี้ก็เป็นกล้องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในการถ่ายภาพในลักษณะถ่ายคู่ ในการผลิต Stereoly attachment ประกอบด้วยปรึซึมคู่ต่อเข้ากับเลนส์ 50 มม. ทำให้เกิดภาพขนาด 18 x 24 มม. 2 ภาพ บนฟิล์มขนาด 24 x 36 มม. แล้วใช้ที่ส่องพิเศษดู รหัสของ Stereoly นี้คือ VORSA และที่ส่องคือ VOTRA

หลายปีต่อมา ในคานาดามีการสร้างระบบ Stereo แบบใหม่ที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งมาจากความสนใจในการถ่ายภาพ Stereo และความนิยมฟิล์มสีสามารถฉายลงบนจอโดยผ่านฟิลเตอร์โพลาไรซ์แล้วส่องดูด้วยแว่น โพลาไรซ์

มีอุปกรณ์ชิ้นใหม่เรียก Stermar ซึ่งที่จริงแล้วเป็นเลนส์ 2 เลนส์ ในเมาท์เดียวกัน ไม่ใช่อุปกรณ์ เลนส์ ตัวอย่างตัวแรกทำในเยอรมัน ก่อนสงครามมีความยาวโฟกัส 35 mm. f2.5 หรือ f3.5 มีอีกชนิดคือ 33 mm. f3.5 ซึ่งเลนส์เหล่านี้เป็นรุ่นเมาท์เกลียว แต่หลังจากไปผลิตที่ Canada จึงจะมีให้เลือกทั้งแบบเกลียวกับแบบเขี้ยวและทำแต่เฉพาะ 33 mm.

อุปกรณ์นี้สามารถใช้ได้โดยตัวมันเองสำหรับการถ่ายภาพระยะใกล้ หรือ ใช้ระบบปริซึมเสริม (ไม่เหมือน Stereoly) ซึ่งจะเพิ่มระยะระหว่างเลนส์ทั้งสองทำให้ภาพดูมีความลึกมากขึ้นสำหรับถ่ายภาพระยะไกลกว่า 10 ฟุต ขึ้นไป

อุปกรณ์นี้ถูกเพิ่มความสมบูรณ์โดยวิวไฟน์เดอร์ ซึ่งมีระยะแนวตั้งที่ถูกต้อง และมีเลนส์โปรเจคชั่นเรียก HEKTORซึ่งมีแว่นโพลาไรซ์สำหรับส่องดูภาพ Stemar จากคานาดาประกอบด้วยเลนส์คู่กลุ่มของปรึซึมเพื่อขยายฐาน Stereo สำหรับถ่ายระยะไกล มีวิวไฟน์เดอร์พิเศษและ Hood เลนส์และยังมีที่ส่อง Stereo ทำจากพลาสติกสีดำ และมีกล่องแบตเตอรี่สำหรับให้แสง

กล้องต้นแบบของเลนส์ 90 mm. คู่ได้สร้างขึ้นมาแต่ไม่ได้เข้าสายการผลิต แต่ยังได้สร้างบางตัวขึ้นเพื่อใช้งานของ Leitz ซึ่งทำงานได้อย่างดี

ชุดถ่ายภาพสามมิติของไลก้า ประกอบด้วย “VOTRA”, “FLATE”, “VORSA”

“Stema” สำหรับกล้องรุ่น M