สามารถซื้อหนังสือออนไลน์ได้บน AIS Bookstore 

http://www.ookbee.com/Shop/Magazine/CAMERARTMAGAZINE

TEST REPORT

FUJIFILM X-T20

FUJIFILM X-T20 ตัวต้นแบบออกมาพร้อมๆ กับ FUJIFILM GFX พอดีผมต้องไปทดสอบ GFX จึงไม่ได้ใช้งาน X-T20 เลย จนกระทั่งกล้องทดสอบเวอร์ชั่นผลิตจริงออกมา ตัวกล้องและ Firmware สมบูรณ์เรียบร้อยออกมาแล้ว งานของ GFX เสร็จแล้วจึงได้มีโอกาสเอา FUJIFILM X-T20 ไปใช้งานในภาคสนามจริงสักที ตัวกล้อง FUJIFILM X-T20 ยังคงแทบจะเหมือนกับ X-T10 คนส่วนใหญ่จึงคิดว่ามันคือ X-T10 อัพเกรด ซึ่งถูกครึ่งหนึ่ง จริงๆ ต้องบอกว่ามันคือ X-T2 ราคาประหยัดมากกว่า เพราะยกระบบการทำงานมาจาก X-T2 เลย งานประกอบกล้องดูเรียบร้อยแน่นหนา แม้ว่าจะไม่มีซีลป้องกันความชื้นและฝุ่นละออง แต่ก็ยังสามารถนำไปใช้งานได้ตามปกติ แต่เวลาลุยหนักๆ เช่นกลางฝน หรือมีลมพัดแรงๆ ประเภทมีแรงอัดกระทำกับตัวกล้อง แนะนำให้หาผ้ามาคลุมกันไว้สักหน่อยเพื่อไม่ให้ฝุ่นหรือน้ำเข้าไปในกล้อง (ถ้าเป็นคนรักษากล้อง กลัวขายมือสองแล้วราคาตก) ผมเองเอา FUJIFILM X-T20 ไปขึ้นเขาถ่ายภาพดาว รวมทั้งเข้าถ้ำแม่ละนาซึ่งเดินโหดอยู่เหมือนกัน กล้องนี่มีแต่โคลนเลอะเต็มไปหมดก็ยังไม่ได้มีปัญหาอะไร จริงๆ กล้องถ่ายภาพทุกตัวแม้ไม่เป็น WR สามารถลุยได้ในระดับหนึ่งนะครับ ไม่ต้องกังวลอะไรมาก โดนน้ำค้างน้ำกระเซ็นเข้ามา หรือถ่ายภาพตอนลมพัดได้สบาย แต่ถ้าหนักมากๆ กล้องประเภท WR จะปลอดภัยมากกว่า

 

TOKINA FIRIN 20 mm. F2

Tokina Firin 20 mm. F2 เป็นเลนส์แบบ Manual Focus ที่รองรับทั้งการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ ตัวเลนส์ออกแบบได้คลาดสสิคมาก คล้ายๆ กับ Leica R ในอดีต ตัวบอดี้เป็นโลหะทั้งหมด ตัวอักษรใช้ยิงเลเซอร์ลงไปในเนื้อโลหะ มีสเกลแสดงความชัดลึก ระยะชัดแบบฟุตและเมตร วงแหวนโฟกัสใช้เซาะร่องโลหะเป็นลายเพื่อให้ติดมือเวลาหมุน และไม่ต้องกังวลเรื่องยางบวมด้วย มีวงแหวนปรับขนาดช่องรับแสงที่ปรับได้ทั้งแบบ Step และ Stepless สำหรับงานวิดีโอ มีฮูดทรงเหลี่ยมหล่อเหลา เมาท์โลหะและมีคอนแทกไฟฟ้าเพื่อส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังตัวกล้องด้วย ระบบโฟกัสแม้จะเป็นแบบแมนนวล แต่ใช้งานได้ไม่ยากและแม่นยำ เมื่อหมุนวงแหวนโฟกัสกล้องจะขยายภาพที่ 100% เพื่อให้โฟกัสได้อย่างแม่นยำที่สุด พอกดชัตเตอร์ลงไปภาพจะย่อลงมาตามปกติ ตัวกล้องจะบอกระยะโฟกัสให้ตรงกับตัวเลนส์เป๊ะๆ เวลาโฟกัสที่สุดสายตาก็ตรงตำแหน่งเสกลอินฟินิตี้ ถ่ายภาพดาวสบายๆ

 

PHOTO TECHNIQUE

ถ่ายภาพนิ่งตามหนัง ตอน 1 (นักรบนาวี)

ผมเคยได้ยินคำนี้มานานแล้วครับ “ถ่ายภาพนิ่งตามหนัง” หรือถ่ายภาพนิ่งตามภาพยนตร์ เคยคิดอยากเข้าไปร่วมงานและสัมผัสบรรยากาศกองถ่ายสักครั้ง แล้วโอกาสก็มาถึง เมื่อผู้กำกับภาพยนตร์ฝีมือชั้นครู อุ๋ย นนทรี นิมิบุตร สร้างภาพยนตร์เทิดพระเกียรติ “นักรบนาวี” ผมจึงขอติดตามกองถ่ายภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าไปร่วมบันทึกภาพนิ่ง ตลอดการถ่ายทำ ตั้งแต่วันเปิดกล้อง จนถึงวันปิดกล้อง ภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นภาพยนตร์การกุศล มีเงินลงทุนไม่มาก กองถ่ายไม่ใหญ่มากนัก อุปกรณ์และคนทำงานไม่มาก ทำให้การทำงานของผมสะดวก ลื่นไหล ไม่เกะกะกีดขวางการทำงานของกองถ่ายภาพยนตร์ที่เป็นงานหลัก

 

Composition EP.2 Principles of Composition ตอนที่ 6 ความขัดแย้ง (Contrast)

ความขัดแย้ง หรือ Contrast ในทางศิลปะจะหมายถึงความไม่ประสานสัมพันธ์กัน หรือสิ่งที่ตรงข้ามกัน แตกต่างกัน การนำความขัดแย้งมาใช้ในงานศิลปะจะช่วยทำให้ผลงานไม่เกิดความน่าเบื่อ นอกจากนั้นยังช่วยให้เกิดความตื่นเต้น ความน่าสนใจขึ้นอีกด้วย ความขัดแย้ง (Contrast) จะตรงข้ามกับความกลมกลืน (Harmony) เราสามารถทำให้เกิดความขัดแย้งในองค์ประกอบได้หลายลักษณะ ขัดแย้งกันในขนาดขัดแย้งกันในรูปร่าง-รูปทรง ขัดแย้งกันในทิศทาง ขัดแย้งกันในแสง และขัดแย้งกันในเรื่องของสี

 

Found Objects & Snapshot

หลายครั้งหลายหนที่เราเดินถ่ายรูปอยู่ริมถนน แล้วมองเห็นเครื่องปั้นดินเผาน่าสนใจใบหนึ่ง ยกกล้องขึ้นถ่ายกดชัตเตอร์… หรือว่ามีสามล้อจอดอยู่ริมรั้วที่เราบังเอิญเดินไปเจอแล้วถ่ายภาพเก็บไว้… และไม่แปลกที่เราจะเคยถ่ายภาพสายไฟที่พันกันยุ่งเหยิงอยู่เหนือหัวเราขึ้นไป… ภาพแบบที่ยกตัวอย่างมานั้นแหล่ะครับ ที่เราเรียกว่า “Found objects”

ในขณะเดียวกัน ถ้าหากว่าเราเดินถ่ายรูปอยู่ริมถนน มีเด็กกำลังเลียไอติม จังหวะนั้นเรายกกล้องกดชัตเตอร์ถ่ายภาพไว้… หรือ

มีคนกำลังเดินผ่านช่องตึก หรืออะไรก็ได้ที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเราแบบกะทันหัน ภาพแบบนี้เราเรียกกันว่าภาพ “Snapshot”

 

TRAVEL

มหัศจรรย์แห่งโลกใต้ท้องทะเลหมู่เกาะสุรินทร์

วันสุดท้ายของการติดเกาะ เช้านี้ทานอาหารญี่ปุ่นที่เตรียมมา มาม่าคัพ น้ำร้อนจากอุทยาน โปรแกรมวันนี้เราจะไปเยี่ยมชมหมู่บ้านชาวมอแกน ช่วงระหว่างรอเรือ ก็เก็บภาพปูเสฉวน ไปเพลินๆ เพราะที่นี่มีเยอะมาก ได้เวลาลงเรือออกเดินทางไปอ่าวบอน เป็นอ่าวที่อยู่ไม่ไกลจากอ่าวช่องขาดมากนัก เป็นที่ตั้งของชุมชนชาวมอแกน หรือ ชาวยิปซีทะเลที่ใช้ชีวิตร่อนเร่ อยู่กลางทะเลอันดามันมาหลายชั่วอายุคน เดินทางมาถึงอ่าวบอนเราจะเห็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านชาวมอแกนที่เป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูง หลังคามุงหญ้าแฝก ดูมีมนต์เสน่ห์กลมกลืนกับธรรมชาติ เที่ยวเยี่ยมชมวิถีชีวิตชาวมอแกน หลายคนคงจะมีคำถามว่า  มอแกน  แปลว่าอะไร  เรามักจะได้คำตอบว่า “ม่ายรู้ (ไม่รู้และไม่เห็นน่าต้องรู้เลย) ….ม่ายรู้…. ก็ไม่รู้ไม่เห็นแปลก เพราะถ้ามีใครมาถามเราว่า “สยาม” แปลว่าอะไร เราก็คงตอบคล้ายๆ กัน เป็นคำตอบที่ไม่ต้องถามต่อ ฮ่าฮ่าฮ่า…

 

MISCELLANEOS

EPSON@phuket

EPSON จัดกิจกรรมสื่อสัญจรกันไกลถึงภูเก็ตพร้อมกิจกรรมสุด Exclusive ประเดิมกิจกรรมแคมปิ้งล้อมรอบกองไฟในตรีมลูกเสือ จากนั่นพาคณะสื่อมวลชน ขับรถ ATV  ไปตลุยรอบป่าชายเลน อีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ ที่ EPSON ชวนสื่อมวลชนร่วมตอบแทนสังคม และร่วมกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างทีมเอปสันกับทีมสื่อมวลชน กับกิจกรรมการเล่นเกมส์ที่เรียกความสามัคคี ปิดท้ายความเลิศหรูที่เอปสันจัดให้ ล่องเรือยอร์ช เพื่อชมพระอาทิตย์ตกดิน ณ แหลมพรหมเทพ และลิ้มรสอาหารพื้นเมืองแสนอร่อย ณ ร้านกันเอง @ เพียร์ เป็นการปิดท้ายกิจกรรมสื่อสัญจร ที่ทีมสื่อมวลชนสุดประทับใจ

 

ถ่ายภาพทางอากาศด้วยโดรน ตอน 4

บทความในตอนนี้มาถึงตอนสุดท้ายแล้วและขอกล่าวถึงระเบียบและข้อควรระวังในการบินโดรน เพื่อการถ่ายภาพกันนะครับ ก่อนอื่นขอนำประกาศกระทรวงคมนาคมที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2558 ไว้ดังนี้

สาระสำคัญสรุปเป็นสองประเด็นคือ การบินโดรนที่น้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม เป็นงานอดิเรกหรือสันทนาการ ไม่ต้องจดทะเบียน แต่หากมีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ต้องจดทะเบียนไม่ว่าจะเพื่อการสันทนาการหรือเพื่องานถ่ายภาพ งานทำแผนที่ และอื่นๆ ซึ่งหมายความว่าโดรนทุกลำที่เราใช้เพื่อการถ่ายภาพ จะต้องมีการลงทะเบียน และการลงทะเบียนได้นั้นจะต้องมีการทำประกันไว้ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้มีบริษัทที่รับประกันไว้แล้ว ลองไปดูเงื่อนไขการทำประกันได้ที่ http://www.dronethaiinsurance.com

ในข้อบังคับเขียนไว้ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้งานโดรนในข้อที่ 5 (สำหรับน้ำหนักน้อยกว่า 2 กิโลกรัม) ว่า

 

ถ่ายดาว MARATHON กับ NARIT

เข้าช่วงการถ่ายภาพตามล่า…ทางช้างเผือก…ชุมชนคนชอบถ่ายภาพต่างก็หาสถานที่ถ่ายภาพดวงดาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง…ทางช้างเผือก…ประจวบเหมาะกับที่ทาง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือที่เรียกย่อว่า NARIT ได้จัดงาน Astrophotography Marathon ซึ่งเป็น Workshop ถ่ายภาพดาราศาสตร์ มาราธอน ประจำปี 2560 ระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคมที่ผ่านมา ปีนี้เป็นการจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นปีที่ 3 เพื่อเป็นการพัฒนาเพิ่มทักษะความสามารถด้านเทคนิคการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ โดยจัดขึ้นที่บริเวณ พระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นจุดถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ ที่มีท้องฟ้าดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ทริปถ่ายดาวรอบนี้จึงเป็นทริปเฉพาะกิจที่รับคนจำกัด โดยมีข้อแม้ว่า…ผู้ที่จะมาร่วมทริปได้นั้น…จะต้องสมัครเข้าร่วมงาน Astrophotography Marathon ของ NARIT ให้ได้ก่อน เพราะมิฉะนั้นก็จะไม่สามารถเข้าไปร่วมงาน Workshop ถ่ายภาพกับกิจกรรมของ NARIT ได้ สำหรับ CAMERART นั้น ได้รับเชิญไปในนามของสื่อมวลชน จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับการเข้าร่วมในงาน

 

ภาพนิทรรศการการโดนใจ

เมื่อได้พบปะกลุ่มอาจารย์ที่สอนศิลปะภาพถ่าย คุยกันว่า สื่อการสอนของพวกเขาใช้ตัวอย่างจากชาวต่างประเทศ ทำไมไม่ใช้ของช่างภาพไทย ต่างให้ความเห็น พอสรุปได้ดังนี้

  1. ผลงานของช่างภาพไทย ไม่ได้ทำเผยแพร่จนแพร่หลาย เช่น ภาพรางวัลถ้วย เหรียญทอง เหรียญเงิน ที่สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมถ่ายภาพกรุงเทพ ที่จัดประกวดภาพมาเป็นสิบๆ ปี การจัดประกวดแต่ละครั้ง มักพิมพ์หนังสือภาพ แต่หนังสือภาพนี้ไม่ได้อยู่ในห้องสมุดของสถานศึกษา ที่จะค้นหามาทำตัวอย่าง
  2. ผลงานไม่เด่นชัด ไม่ตรงกับหัวข้อที่ต้องการสอน
  3. นักถ่ายภาพไทยจัดนิทรรศการไม่บ่อยเท่างานจิตรกรรม ผู้คนจึงไม่ค่อยรู้จัก
  4. แม้จะรู้จักช่างภาพ ก็จะขอยืมภาพที่ต้องการยาก
  5. คนไม่รู้ว่า เขาคือช่างภาพแต่รู้ในอาชีพอื่น เช่น คุณรัตน์ เปสตันยี ผู้เคยเป็นนายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ผู้ริเริ่มจัดการประกวดภาพถ่าย ผู้เคยได้รับรางวัลเหรียญทอง ผู้ถ่ายภาพที่จัดองค์ประกอบสวยงาม โดยจำลองสถานการณ์ที่เหมือนธรรมชาติจริงมาถ่ายภาพ แต่ผู้คนรู้จัก คุณรัตน์ เปสตันยี ในนามผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้สร้าง ผู้ถ่ายทำภาพยนตร์บันเทิง ที่ได้รับรางวัลจากต่างประเทศเป็นคนแรก คือเรื่อง สันติ-วีณา และอีกหลายเรื่อง ในนามของหนุมานภาพยนตร์