เรื่อง+ภาพ : ศุภฤกษ์ นฤเบศร์ไกรสีห์

บทความนี้มาจาก Camerart Magazine ฉบับ 224/2016 May

การปรับจูนจอภาพด้วย Spyder 3 Elite

เนื่องจากผมมี Spyder 3 Elite อยู่ จึงขอกล่าวถึงวิธีการปรับตั้งสีของ Spyder 3 Elite ส่วนยี่ห้ออื่นๆ นั้นอาจจะแตกต่างกันไปบางในเรื่องระบบการทำงาน แต่หลักการนั้นจะเหมือนกันในภาพรวม โปรแกรมที่ผมใช้ในการสร้างโปรไฟล์สีผม ปกติจะเป็นโปรแกรม Spyder 3 Elite แต่ผมได้อัพเกรดเป็น Elite 4.0 ซึ่งโปรแกรมรุ่นใหม่นี้ดีกว่ารุ่นเดิมมากพอควร ทั้งยังแสดงขอบเขตสี Color Gamut ของจอภาพของเราได้และเทียบกับขอบเขตสีของ Adobe RGB, sRGB และ NTSC ได้อีกด้วย และยังมีฟังก์ชั่นวิเคราะห์คุณภาพที่แท้จริงของจอภาพได้อีกต่างหาก ค่าอััพเกรดประมาณ 14 ยูโรหรือไงนี่ละครับ (เป็นครั้งแรกที่ผมซื้อโปรแกรมจากผู้ผลิตโดยตรงเลยนะนี่ แสดงว่าต้องดีจริงๆ) หลังจากติดตั้งโปรแกรมตัวใหม่แล้ว ก็ทำการจูนจอภาพกันเลย

  1. เปิดโปรแกรม Spyder 3 Elite 4.0
  1. โปรแกรมจะแนะนำข้อกำหนดต่างๆ เช่น ควรวอร์มจอภาพไว้อย่างน้อย 30 นาที อย่าให้มีแสงตกลงมาตรงๆ ที่หน้าจอภาพ ให้ปรับตั้งระบบสีของจอภาพไว้ที่ค่าปรับตั้งจากโรงงาน ปรับตั้งส่วนขาวไว้ที่ 6500K และปรับความสว่างไว้ที่ระดับที่ดูแล้วสบายตาที่สุด และให้เสียบสาย USB ของ Spyder 3 เข้ากับเครื่องคอม
  1. ต่อมาเป็นขั้นตอนการปรับตั้ง มีให้เลือกแบบ Step by step คือโปรแกรมจะสั่งให้ปรับตั้งทีละขั้นตอน หรือ Studio Match เป็นการปรับตั้งจอภาพให้ใกล้เคียงกันในกรณีที่เรามีจอภาพใช้งานอยู่หลายจอ และ Expert Console จะเป็นการปรับตั้งทุกระบบในหน้าเดียว ไม่ต้องเลื่อนไปเลื่อนมาให้เสียเวลา เนื่องจากเป็นการปรับจอครั้งแรกผมจึงเลือกเป็น Step by step
  1. ต่อมามีให้เลือก 3 ข้อคือ จะ Recalibrate คือ ใช้ค่าปรับตั้งเดิมแล้วปรับสีใหม่ หรือ Check Cal คือ วัดค่าว่าที่ปรับตั้งอยู่ตอนนี้ได้ค่าเป็นอย่างไร ยังอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ และ Full Cal ทำการปรับตั้งใหม่ทั้งหมด ของผมปรับใหม่หมดจึงเลือกที่ Full Cal เลือกค่า Gamma ที่ 2.2 ตามคำแนะนำ (เลือกได้ตั้งแต่ 1.0-2.4 และป้อนค่าเองได้) ค่าอุณหภูมิสีส่วนขาว 6500K (ปรับที่ตัวจอ มีให้เลือกตั้งแต่ 4000-9300K กับป้อนค่าเอง และ Native คือ ใช้ตามจอที่เป็นอยู่ ไม่มีการปรับตั้งอะไร) ส่วนความสว่างนั้นสามารถเลือกได้ตั้งแต่ 80-180 ป้อนค่าได้ และเลือก Native ได้ ผมเลือกที่ 120 เป็นค่ากลางจอจะได้ไม่สว่างมาก เหมาะกับห้องที่มีแสงสม่ำเสมอ แล้วเลือก Advance
  1. ตั้งค่า Ambient Light ว่าจะให้วัดแสงในห้องด้วยหรือไม่ ถ้าแสงคงที่แนะนำให้วัด ถ้าไม่คงที่แนะนำไม่ต้องวัด ค่า Grey Balance แนะนำให้เปิดเอาไว้ ยกเว้นคาลิเบรทจอโปรเจคเตอร์ชนิด DLP ถึงแนะนำให้่ปิด และ Spyder certification เป็นการเปิดระบบให้โปรแกรมเตือนเราเมื่อสีของจอภาพออกนอกขอบเขตการปรับตั้ง
  1. ต่อมาโปรแกรมจะให้ปรับอุณหภูมิสีไปที่ 6500 ตามที่เลือกเอาไว้ กด Next
  1. แต่ถ้ามี RGB Slider ก็ให้ใช้ RGB Slider ได้
  1. เนื่องจากผมตั้งให้วัดแสงภายนอกด้วย โปรแกรมจึงสั่งให้ติดตั้งตัว Spyder เข้ากับขาตั้ง แล้วหันออกจากหน้าจอเพื่อวัดปริมาณแสงภายนอก กด Next

9. โปรแกรมทำการวัดแสงภายนอกแล้วบอกผล ระดับแสงที่เหมาะสมคือ 175-200 Candel/SQM (แรงเทียนต่อตารางเมตร) หลังจากวิเคราะห์ระดับความสว่างของห้อง โปรแกรมแนะนำให้ตั้งค่าความสว่างของจอไว้ที่ 180 ซึ่งเราอาจจะตอบรับ .. หรือใช้ค่าที่เราตั้งไว้แต่แรก Keep…ก็ได้ แต่ผมแนะนำให้ตอบ Accept ไปใช้ค่าที่โปรแกรมแนะนำ

  1. จากนั้นติดตั้ง Spectrophotometer ที่หน้าจอภาพ กด Next
  1. โปรแกรมจะทำการวัดแสงสีต่างๆ สักครู่ แล้วให้เราปรับความสว่างจอภาพในขั้นต่อไป
  1. โปรแกรมแจ้งระดับความสว่างของจอภาพ ว่าอยู่ที่ระดับใด ให้ปรับความสว่างของจอภาพที่ Brightness แล้วกด Update ปรับไปเรื่อยๆ จนระดับความสว่างมาอยู่ตรงกลางสเกล กด Next
  1. โปรแกรมจะแสดงแสงสีต่างๆ เพื่อให้เครื่อง Spectro. ได้วัดค่า ใช้เวลานานหลายนาที เสร็จแล้วจะขึ้นหน้าจอให้เก็บค่าที่ปรับตั้งได้

14. เก็บข้อมูลเรียบร้อย

  1. โปรแกรมจะแสดงภาพหลากหลายเพื่อให้เราดูว่าก่อนและหลังการปรับแตกต่างกันอย่างไร เลือก Next
  1. โปรแกรมจะแสดงขอบเขตสีของจอภาพที่ปรับตั้งได้ สามารถดูขอบเขตเทียบกับ sRGB และ Adobe RGB ได้ด้วย จะเห็นว่าสีของจอภาพของผมนั้นกว้างใกล้ๆ กับ Adobe RGB เลยทีเดียว ส่วนสีแตกต่างกันเล็กน้อย
  1. สามารถดู Information ของการปรับตั้งว่าความสว่าง ส่วนขาว ส่วนดำ ค่าพิกัดของแต่ละสีอยู่ที่ใด
  1. นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นเพิ่มขึ้นมาในการทดสอบคุณภาพของจอภาพได้อีก เช่น การวัดค่าสีเพื่อแสดง Color Gamut วัดความสม่ำเสมอของแสง ฯลฯ

จอที่ดีควรให้ Color Gamut กว้างกว่า Color Gamut ของระบบสีของอุปกรณ์แสดงผลที่เราจะนำไปใช้งาน จะทำให่้เราเห็นสีที่จอภาพครบถ้วนและใกล้เคียงกับภาพที่จะได้จากอุปกรณ์แสดงผล (เช่น เครื่อง Inkjet) นั้นๆ มาก แต่ถ้า Color Gamut ของจอภาพแคบกว่าอุปกรณ์แสดงผลภาพก็จะไม่สามารถแสดงสีที่จะเกิดขึ้นได้ ตอนหน้าเรามาดูวิธีการควบคุมโดยใช้ Color profile ในแต่ละขั้นตอนว่า จะทำอย่างไรให้ภาพที่ปรากฏบนหน้าจอใกล้เคียงกับภาพที่พิมพ์หรืออัดขยายออกมามากที่สุด