เรื่อง+ภาพ : ISO 9000…..

บทความนี้มาจาก Camerart Magazine 258/2019 March

ครั้งหนึ่ง…ผมเคยถาม นักถ่ายภาพมืออาชีพระดับนานาชาติ…ที่เข้ามาบรรยายการถ่ายภาพในเมืองไทยว่า… “ถ้าคุณถ่ายภาพมาแล้ว ในการตรวจสอบภาพเพื่อใช้งานนั้น…ถ้าปรากฏว่า…สุดท้ายเหลือเพียง 2 ภาพที่คิดว่าจะใช้งาน…ภาพหนึ่ง เป็นภาพที่คมชัดเป๊ะ…กับ…อีกภาพหนึ่งหลุดโฟกัสไปบ้าง แต่มีจังหวะ และอารมณ์ ของภาพถ่าย ถูกใจกว่า…คุณจะเลือกภาพไหน…ให้เป็นภาพที่ดีที่สุด…” 

คำตอบของนักถ่ายภาพท่านนั้น “ผมเลือกภาพ ภาพที่หลุดโฟกัสไปบ้าง แต่มีจังหวะ และอารมณ์ ของภาพถ่ายครับ” ซึ่งในส่วนตัวแล้ว ผมก็เห็นด้วยครับ…

การถ่ายภาพในวันนี้ เป็นการถ่ายภาพด้วย กล้องดิจิตอล และกล้องบนโทรศัพท์มือถือ ภาพถ่ายมีนับร้อยนับพันภาพ แต่…ถ้าจะคัดเลือกภาพที่น่าประทับใจแล้วละก็ ผมเชื่อว่า อาจจะเหลือเพียงไม่กี่ภาพ…ทำไมผมถึงกล่าวอย่างนั้น…ท่านสามารถลองนำภาพถ่ายต่างๆ เหล่านั้นมาทำการคัดกรองดูได้ครับ

คัดกรองเรื่องแรก ก็คือ เรื่ององค์ประกอบภาพ ซึ่งสำหรับนักถ่ายภาพมือใหม่ๆ แล้ว ผมให้ลองพิจารณาเทียบกับภาพที่มีมาตรฐานองประกอบทั่วไปได้  ท่านจะพบว่า  ท่านคัดภาพของท่านออกได้ส่วนหนึ่งแล้วละครับน่าจะเยอะเอาการ…

คัดกรองในเรื่อง อารมณ์ หรือ Mood ของภาพ…คราวนี้ท่านลองพิจารณาดูภาพของท่านว่าให้อารมณ์อย่างไร ตรงกับที่ท่านตั้งใจในตอนถ่ายภาพหรือไม่ ถ้าท่านคัดเลือกภาพมาถึงตรงนี้ ท่านจะพบว่า ภาพของท่านจะถูกตัดออกได้อีกเป็นจำนวนหนึ่ง ก็น่าจะมากโขเหมือนกัน 

มาถึงตรงนี้ ท่านจะพบว่า ภาพถ่ายนับร้อยๆ ภาพของท่าน เริ่มถูกคัดกรองได้เป็นภาพถ่ายที่มีคุณภาพดีได้จำนวนหนึ่ง อาจจะเหลือเพียงจำนวนนับสิบเท่านั้น ซึ่งถ้าท่านจะตัดสินรูปของท่านเอง ก็สามารถทำได้ครับ และถ้าท่านเป็นผู้ที่นิยมส่งภาพเข้าประกวด การคัดเลือกสุดท้ายนี้แหละที่ท่านต้องพิจารณา คัดเลือกภาพที่จะส่งเข้าประกวด

Momen…แว้บเดียว…ของการถ่ายภาพ… จุดหนึ่งที่ช่วยให้ท่านได้พิจารณาภาพถ่ายของท่านว่า ภาพนั้นให้อารมณ์ได้หรือไม่ ก็คือ จังหวะภาพที่น้อยนิดในการกดชัตเตอร์ อย่างเช่น การยิ้ม ท่านอาจจะถ่ายมาหลายภาพ แต่ถ้าพิจารณาให้ดี จะมีอยู่นิดเดียวในหลายๆ ภาพที่น่าจะเป็นรอยยิ้มที่ดีที่สุด ในการพิจารณาของกรรมการตัดสินการประกวดของภาพ จุดนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่ถูกนำมาพิจารณาถึงความยากง่ายของภาพถ่ายในการให้คะแนนเหมือนกัน เรามาลองดูตัวอย่างง่ายๆ กัน ซัก 2 ตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 1 เป็นภาพประเพณีหนึ่งของชาวมอญที่ วัดวังวิเวการาม สังขละบุรี ที่เชื่อกันว่า การให้พระเหยียบเดินผ่าน เป็นการได้บุญ ในภาพ เป็นการนำเด็กทารกมาให้พระเดินเหยียบผ่าน ซึ่งถ้าเราไม่ทราบประเพณี ก็คงถ่ายภาพไปเรื่อยๆ แต่สถานการณ์ที่ต่อเนื่องจะทำให้เราเห็นว่าควรจะถ่ายภาพอย่างไร ซึ่งก็อาจจะเป็นจังหวะพระยกเท้า หรือข้ามไปแล้ว แน่นอนว่า ถ้าต้องการให้ภาพ เล่าเรื่องด้วยตัวเอง ภาพที่น่าจะดีที่สุดก็คือ จังหวะที่พระวางเท้าเหยียบอยู่บนหลังทารกพอดี ซึ่งจะมีเวลาเพียง แว้บเดียว…เท่านั้น ในการถ่ายภาพ ท่านอาจจะมีภาพที่เป็นผู้ใหญ่นอน ให้พระเหยียบเดินผ่านเหมือนกัน แต่ถ้านำภาพทั้งสองภาพมาเทียบเคียงกัน ท่านจะพบว่า ภาพที่เป็นเด็กทารก ให้ความรู้สึกที่ดีกว่าทันที…

ตัวอย่างที่ 2 เป็นภาพถ่ายที่ ตลาดร่มหุบ ซึ่งเป็นอีกที่หนึ่งที่นักถ่ายภาพนิยมที่จะไปถ่ายภาพในเวลาที่ รถไฟผ่านตลาดเพื่อเข้าไปจอดที่ชานชาลาสถานีรถไฟ แน่นอนครับว่ามีภาพถ่ายหลากหลายมุมมองในลักษณะนี้ สิ่งที่ยากสำหรับการถ่ายภาพในลักษณะนี้ก็คือ ในเรื่องขององค์ประกอบภาพถ่ายที่ไม่ง่ายเลย เนื่องจากทั้งกลุ่มคนถ่ายภาพ ทั้งสภาพของตลาด สิ่งที่ช่วยได้มีเพียงเรื่องของแสง….ความได้เปรียบเสียเปรียบ…เมื่อมีการนำภาพมาเปรียบเทียบก็คือ เรื่องราวในภาพถ่าย อารมณ์ของภาพถ่าย ซึ่งแน่ละครับ Moment…แว้บเดียว…ของการถ่ายภาพ…จะได้ภาพถ่ายที่มีอารมณ์ที่แตกต่างกันทันที….ในภาพนี้จุดเดียวที่ทำให้ภาพถ่ายดูมีเรื่องราว ก็คือ นักถ่ายภาพสาวชาวต่างประเทศ ที่ก้าวเข้ามาถ่ายภาพหน้ารถรถไฟในระยะกระชั้น