https://drive.google.com/drive/u/2/my-drive

TEST REPORT

SONY Alpha 6600

Sony เปิดตัวกล้องรุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมขายแล้วในเดือนนี้…. Sony Alpha 6600 จัดเป็นกล้องรุ่น Top สำหรับกล้องที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ APS-C เหมาะอย่างยิ่งสำหรับ Serious Vlogger หรือ นักถ่ายภาพที่ต้องการภาพนิ่ง และภาพวิดีโอคุณภาพสูง รวมถึงนักถ่ายภาพมืออาชีพที่ต้องการกล้องถ่ายภาพตัวที่ 2 ต่อจากกล้อง Full frame

Sony Alpha 6600 ติดตั้งเซ็นเซอร์ขนาด APS-C เป็น Exmor CMOS senser ที่มีความละเอียดสูงถึง 24.2 ล้านพิกเซล เป็นแบบ Front-end LSI ที่เป็นเทคโนโลยีของโซนี่โดยเฉพาะ พร้อมด้วย BIONZ X Image processor ที่เป็น Generation ใหม่ของ Sony ตัวเดียวกับที่ใช้อยู่ในกล้อง Sony Alpha 7III รุ่นล่าสุด ที่ทำงานได้เร็วกว่าเก่าถึง 1.8 เท่า

 

PHOTO TECHNIQUE

Wait for the Light to be Right

การถ่ายภาพในสภาพแสงธรรมชาตินั้น สิ่งที่ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญก็คือสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งส่งผลต่อสภาพแสงที่เราต้องการ เหนือขึ้นไปกว่านั้นคือการอาศัยดวงที่ดี หลายคนเป็นคนเรียกฝนที่มักจะพาฝนไปด้วยตลอดจนเพื่อนร่วมทริปแซวทุกครั้ง หลายคนออกไปถ่ายภาพทีไรมือเปียกกลับบ้านทุกที (เพราะคว้าน้ำเหลว) อันนี้ก็ต้องอาศัยโชคและดวงที่มีของแต่ล่ะคนก็ว่ากันไป และเหนือไปกว่าการอาศัยดวงที่ช่างภาพมืออาชีพส่วนใหญ่ใช้กันนั่นก็คือ “การรอคอย”

การรอคอยเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความอดทน แต่การรอคอยที่ดีนั้นไม่ใช่การรอคอยแบบสะเปะสะปะ แต่เป็นการรอคอยที่มีหลักการอยู่บ้าง เช่นการวางแผน การตรวจสอบ การหาข้อมูล และการเตรียมตัวที่ดี ที่น่าตลกก็คือ การรอคอยของบางคน หลายครั้งผ่านเลยช่วงเวลาดีๆ ไปเฉยๆ ต่อหน้าต่อตาเพราะไม่รู้ว่าถึงเวลาต้องกดชัตเตอร์ถ่ายภาพแล้วก็มี

AF Mode & AF Area ระบบโฟกัสกับพื้นที่โฟกัส

เรื่องของระบบโฟกัส เท่าที่ผมสังเกตช่างภาพหลายคนที่พบเจอ มาถึงวันนี้หลายคนยังเลือกใช้ได้ไม่เต็มที่ หรือเต็มประสิทธิภาพของกล้องที่มีมาให้เลยนะครับ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก จึงเป็นที่มาของบทความในฉบับนี้ ที่อย่างน้อยเป็นการแชร์ประสบการณ์ในการเลือกใช้ระบบโฟกัสแบบต่างๆ ที่กล้องมีมาให้อย่างได้ผลมากที่สุด ซึ่งอาจไม่ใช่วิธีตายตัวไปเสียทุกครั้ง ซึ่งอาจต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ตรงหน้าอีกทีหนึ่ง

พูดถึงระบบโฟกัสของกล้องในสมัยนี้ หลักๆ ก็คงเป็นระบบโฟกัส MF แมนนวลโฟกัส และ AF ออโต้โฟกัส ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องระบบโฟกัสแบบ MF ไปแล้วในฉบับก่อนๆ วันนี้ขอเน้นมาที่ระบบโฟกัสแบบ AF หรือออโต้ ว่ามีอะไรที่เราควรทำความเข้าใจกันบ้าง

 

TRAVEL

ชุมชนร่วมสร้าง พร้อมต้อนรับ

“บรื้อ…บรื้อ…” เสียงจากสาวที่ถือกล้อง ร้องแทนผู้สูงอายุท่าทางทะมัดทะแมงที่อยู่บนมอเตอร์ไซด์จำลอง ที่กำลังขับขี่อย่างสนุกสนาน ข้าพเจ้าเลยถ่ายภาพไว้ด้วย ทางเข้ามี 2 ทาง ที่ให้ผู้มาเยี่ยมชมเข้าทั้ง 2 ทาง ทางขวามีอีกทาง เห็นผู้คนเดินออกมาทุกคนถือถุงคนละถุงสองถุง มีบางคนหอบเต็มสองมือ ต้องมีอะไรน่าสนใจแน่เลย ข้าพเจ้าเลยเข้าตามคนอื่นๆ รั้วที่กั้น 2 ทางที่มีคนเข้า ทำด้วยไม้ไผ่โปร่ง พอเข้าไปไม่ไกลนักก็พบทางเข้าอีกทางที่มาบรรจบกัน และเช่นกันรั้วโปร่งมองเห็นทางที่ผู้คนเดินออก เรามาถึงตลาดที่เป็น OTOP นวัตวิถี จังหวัดสระบุรี ชื่อตลาดหัวปลี ได้ชื่อว่าเป็นตลาดสร้างสุขชุมชนร่วมสร้าง เป็นตลาดที่ชุมชนสร้างกันเอง โดยก่อนๆ เป็นสวนกล้วย แล้วโค่นต้นกล้วยเป็นที่ว่างโล่งสร้างเป็นตลาด ทราบว่าชาวบ้านร่วมกันด้วยการมาช่วยขาย สิ่งต่างๆ เลิกขายของเก็บกวาดจนไม่มีขยะ เปิดเฉพาะวันเสาร์-วันอาทิตย์

 

MISCELLANEOS

32 Years นิตยสาร Camerart

นิตยสาร CAMERART ฉบับนี้… คงจะเป็นนิตยสารสิ่งพิมพ์ฉบับสุดท้าย ที่ทีมงานของ CAMERART จะพิมพ์ออกสู่ตลาด…เป็นเรื่องยากมากสำหรับผม ในการตัดสินใจหยุดการพิมพ์หนังสือ CAMERART…แต่ผมก็ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงของตลาด และยุคสมัยของสื่อสิ่งพิมพ์ ที่ต้นทุนสูง และความนิยมที่ลดลง….

35 ปี….เต็มๆ ที่ผมตัดสินใจเข้ามาทำนิตยสารถ่ายภาพ นับตั้งแต่ นิตยสาร คาเมร่า…เป็นเวลา 3 ปี …จนพัฒนามาเป็นนิตยสาร คาเมราร์ต ในภาษาไทย หรือ CAMERART ในภาษาอังกฤษ เป็นเวลายาวนานถึง 32 ปี รวมเวลาแล้ว 35 ปีเต็ม

CAMERART นับว่าเป็นนิตยสารถ่ายภาพ… ที่อยู่คู่กับนักถ่ายภาพในเมืองไทยที่มีอายุยาวนานที่สุดของเมืองไทย ผมไม่กล่าวว่า CAMERART เป็นนิตยสารถ่ายภาพที่ดีที่สุดของเมืองไทย…แต่….

 

RAW Process แบบ Basic

ทำไมถึงต้องเป็น RAW file…การตั้ง File ภาพเป็น RAW file ในการถ่ายภาพ กล้องจะบันทึกค่าการถ่ายภาพไว้ได้ครบถ้วน แต่เป็น File ดิบ โดยที่ยังไม่ได้ Process ใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งถ้าตั้งเป็น JPEG file กล้องก็จะ Process เป็น JPEG file ซึ่งเป็นไฟล์ภาพแบบบีบอัด เป็นการ Process แบบมาตรฐานของกล้อง ซึ่งจะให้คุณภาพได้ดีในระดับหนึ่ง ทำงานรวดเร็ว ใช้งานได้ทันที แต่ไม่ใช่คุณภาพสูงสุด ที่ RAW file สามารถบันทึกได้

ดังนั้น หากต้องการคุณภาพสูงสุดของภาพถ่าย การตั้งการถ่ายภาพเป็น RAW file แล้วทำการ Process ภาพ จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะให้ภาพคุณภาพสูงได้ สิ่งสำคัญก็คือ ต้องทำเป็นใช้ซอฟแวร์ในการแปลงไฟล์เป็น และใช้เวลามากกว่า

 

หน้าต่างสมาชิก

หน้าต่างสมาชิกฉบับนี้ต้องขอบอกว่าเป็นฉบับอำลาของการทำนิตยสาร CAMERART ฉบับที่เป็นสิ่งพิมพ์ จากการอยู่ในวงการถ่ายภาพมาอย่างยาวนาน เราต้องขอบอกว่าใจหายพอสมควร แต่ด้วยกระแส Paradigm shift เทคโนโลยี ทำให้ต้องปรับตัว ถ้าไม่วิวัฒนาการยังตัวโตแบบไดโนเสาร์ก็อาจสูญพันธุ์ เราเองก็ต้องปรับตัวไปตามวงล้อมของกระแสการเปลี่ยนแปลง เมื่อโลกเปลี่ยนเราในฐานะคนทำงานก็ต้องเปลี่ยน ซึ่งหลายท่านคงจะพอทราบกันดีอยู่แล้ว ว่า..คนเริ่มอ่านหนังสือน้อยลง สื่อสิ่งพิมพ์ทยอยปิดตัวรายแล้วรายเล่า ซึ่งต้องบอกเลยว่าเราเองก็พยามฝืนที่สุด แต่เมื่อเราฝืนต่อไม่ไหว ฉบับนี้ก็ถือว่าเป็นการกล่าวอำลา และขอบคุณทุกแรงใจ ผู้สนับสนุน และเพื่อนๆ ที่ชื่นชอบถ่ายภาพ แม้หนังสือเราจะปิดตัวลง แต่ทุกท่านก็ยังสามารถติดตาม CAMERART ผ่านช่องทาง Online ซึ่งเรายังมีเวปไซด์ที่จะมีข้อมูลข่าวสาร และยังมีเพจ CAMERART และกลุ่ม CAMERART ที่ยังคงให้ติดตามข่าวสาร แลกเปลี่ยนมุมมองถ่ายภาพ แล้วทริปถ่ายภาพที่ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ

 

บันได 4 ขั้น สำหรับนักถ่ายภาพมือใหม่

สำหรับผมแล้ว ผมมีความเห็นว่า  การเรียน การฝึกการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่ดี มีคุณภาพ ต้องใช้เวลา และ การเรียนรู้  ต้องหาประสบการณ์ มิฉะนั้น…คงจะไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องเรียนรู้ในสถาบัน หรือ บางท่านอุตส่าห์เสียเงินข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนถึงต่างประเทศใช่ไหมครับ

สำหรับนักถ่ายภาพมือใหม่… ผมขอย้ำว่า “สำหรับนักถ่ายภาพมือใหม่” และอาจจะรวมถึงนักถ่ายภาพที่ต้องการพัฒนาฝีมือการถ่ายภาพ ถ้าคุณมีความประสงค์นี้ บันได 4 ขั้น นี้ คือ คำแนะนำของผม ที่คุณควรจะต้องเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาการถ่ายภาพให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับ