เรื่อง+ภาพ : ศุภฤกษ์ นฤเบศร์ไกรสีห์

บทความนี้มาจาก Camerart Magazine ฉบับ 209/2015 Fevruary

บทที่ 6 การทดสอบหาค่า Dynamic Range

เราสามารถทดสอบหาช่วงการรับแสงของกล้องที่ใช้ว่ามีช่วงการรับแสงกว้างเท่าไร โดย

  1. ติดเลนส์เทเลโฟโต้หรือเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ พยายามหาเลนส์ที่มีอาการมืดขอบภาพต่ำมากๆ เช่น 85 มม. 105 มม. 135 มม.
  2. ใช้กระดาษไขปิดหน้าเลนส์ที่ฟิลเตอร์ 1 ชั้น แล้วปิดที่ฮูดเลนส์อีก 1 ชั้น เพื่อกระจายแสงให้สม่ำเสมอทั่วภาพ
  3. เล็งกล้องไปยังท้องฟ้าที่มีแสงสม่ำเสมอ ปรับระยะชัดไกลสุด แหล่งกำเนิดแสงต้องใช้แสงต่อเนื่องเท่านั้น ห้ามใช้แสงประดิษฐ์กระแสสลับเพราะจะมีการกระพริบ เช่น ฟลอดฟลูออเรสเซนท์ ไฟทังสเตน
  4. ตั้งระบบต่างๆ ของกล้องเอาไว้ที่ มาตรฐานทั้งหมด ทั้ง Sharpness, Saturation, Contrast, Brightness ส่วน Noise Reduction ให้ปิดทั้งหมด ระบบสีแบบ Adobe RGB ไฟล์ภาพเป็น TIFF File ระบบวัดแสงเฉพาะจุดกลางภาพ ปิดระบบ Auto Focus
  5. ตั้งช่องรับแสงปานกลาง เช่น f/8 เพื่อลดอาการมืดที่ขอบภาพ และความไวแสงไว้ที่ ISO 100-200
  6. ถ่ายภาพโดยใช้ระบบถ่ายภาพแบบ M เปิดรับแสงอันเดอร์ 10 stop ไปยังโอเวอร์ 10 stop แบ่งขั้นละ 0.5 stop จากนั้นโหลดภาพเข้าคอมพิวเตอร์

ถ่ายภาพไล่ค่าเปิดรับแสง จะได้ภาพเป็นขาว เทา ดำ ไล่สเต็ปลักษณะนี้

7. ตั้งค่าโปรแกรม Photoshop ที่ Edit > Color Setting ตามภาพ

  1. เมื่อเปิดภาพใน Photoshop ช่วงเปิดภาพหากโปรแกรมถามว่าให้ใช้ Color Profile อะไร ให้ตอบว่า ต้นฉบับ หรือ Adobe RGB ตามที่ตั้งไว้
  2. ให้ตั้งค่าการทำงานของ eye-droper ให้วัดแบบเฉลี่ย 5×5 หรือมากกว่าเล็กน้อย ห้ามวัดจุดเดียวเพราะภาพดิจิตอลจากกล้องจะมี Noise เสมอ ถ้าวัดจุดเดียวจะพลาดได้

10. ตั้งค่าการแสดงผลการวัดที่ของโปรแกรม Photoshop วัดค่าสีในโหมด Lab ที่ให้ใช้ค่า Lightness แทนค่า RGB เพราะภาพที่ถ่ายได้จะไม่ได้เป็นขาวดำแท้ๆ แม้จะเซ็ท Custom WB ก็ตาม ทำให้ค่า R G และ B ไม่เท่ากันไม่สะดวกกับการวัดค่า การใช้ค่า Lightness จะสะดวกกว่าและจดจำได้ง่ายกว่าด้วย

  1. บันทึกค่า Lightness กับค่าการเปิดรับแสงเอาไว้ โดยใช้ Microsoft Excell จะได้กราฟดังภาพ (หากทำกราฟของ Excell ไม่เป็นสามารถโหลดไฟล์เพื่อไปป้อนข้อมูลได้ที่นี่) สีของค่า Lightness แต่ละค่าให้ดูแถบสีขาวดำทางซ้ายมือ
  2. การปรับค่าเกี่ยวกับภาพหลายตัวจะมีผลต่อกราฟ เช่น โหมดสี, Contrast, D-Lighting ฯลฯ หากอยากรู้ว่าแต่ละฟังก์ชั่นจะทำให้สีภาพเปลี่ยนไปอย่างไรก็แนะนำให้ทดสอบเพิ่มเติมได้

กราฟค่าเปิดรับแสงกับ L นี้เรียกว่า Characteristic Curve (ซึ่งเลียนแบบจาก Characteristic Curve ของฟิล์มถ่ายภาพ) เป็นกราฟที่ตรงไปตรงมา จะบอกว่า เมื่อแสงเข้าเซ็นเซอร์เท่านี้ สีที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร หากสามารถจดจำกราฟและสีของ Lightness ได้ การกำหนดค่าวัดแสงจะง่ายขึ้นมาก (เมื่อใช้ระบบวัดแสงเฉพาะจุดเท่านั้น)

ตัวอย่างการทดสอบกล้อง Nikon D3 กับค่า Setting ต่างๆ

ภาพที่มีความแตกต่างของแสงสูง ต้องการ Dynamic Range สูงมากตามไปด้วย จะช่วยให้รายละเอียดส่วนสว่างและมืดปรากฏได้ชัดเจนขึ้น