เรื่อง : นพดล

บทความนี้มาจาก Camerart Magazine 251/2018 August

กล้อง Leica รุ่นพิเศษ

MIFILM-CA

มีกล้องหลายรุ่นซึ่งคนทั่วไปไม่ค่อยจะเห็น จะมีก็แต่เพียงคนที่ติดตามกล้อง Leica อย่างใกล้ชิดเท่านั้นที่จะรู้ MIFILM-CA เป็นกล้องชนิดพิเศษตัวหนึ่ง ซึ่งผลิตออกมาในจำนวนน้อยมากในช่วงทศวรรษที่ 1920 ก่อนที่จะมีการผลิตเลนส์ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งสามารถใช้กับกล้อง Leica รุ่นต่างๆ โดยการใช้ร่วมกับ Mikas เป็นชิ้นส่วนที่แยกต่างหาก กล้อง MIFILM-CA รุ่นนี้ใช้สำหรับงาน Microscope ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับ Mikas Type Attachment ที่ยึดติดตายตัว  เพื่อให้สามารถนำกล้องไปติดบนกล้อง Microscope (กล้องจุลทรรศน์) ได้ ความจริงกล้อง MIFILM-CA ก็คือ Compur B ซึ่งไม่มีชัตเตอร์ และ ช่องมองภาพ ตัวกล้องสลักคำว่า MIFILMCA X 1/3 กล้องเหล่านี้หาได้ยากมาก มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบแรกจะมี Mikas-Type Attachment ยึดติดตายตัว ทาสีดำ แบบที่สองเป็น Mikas ที่มีเกลียวสามารถถอดเปลี่ยนได้

กล้อง MIFILM-CA กล้องแบบ MICROSCOPE

X-Ray CAMERA

กล้อง Leica อีกรุ่นหนึ่งที่แปลกออกไปจากตัวอื่นคือ กล้อง Leica-Ray ที่ถูกสร้างขึ้นมาตามคำสั่งของรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ในช่วงเวลาก่อนสงคราม กล้องรุ่นนี้แตกต่างจากกล้องทั่วๆ ไป ตรงที่ขนาดของภาพเป็น 24 มม. เพื่อให้ใช้กับจอรับภาพ X-Ray ได้ ส่วนตัวกล้องก็เหมือนกับกล้องทั่วไป แต่ไม่มีช่องมองภาพ เลนส์แบบระยะชัดคงที่ เป็นเลนส์ XENON  f1.5 ติดอยู่บนข้อต่อรูปกรวย มีแผ่นที่มีสกรู 4 ตัว ยึดเข้ากับเครื่อง X-Ray ตัวกล้องยังมีช่องแยกควบคุมการเคลื่อนโดยก้านขนาดใหญ่ในลักษณะนี้กล้องจะสามารถเปลี่ยนฟิล์มโดยง่ายเมื่อถ่ายภาพหมดม้วน ซึ่งฟิล์ม 1 ม้วน จะถ่ายภาพ 50 ภาพ กล้องนี้มีรหัสเรียกสำหรับทั้งกล้อง และเลนส์รวมทั้งอุปกรณ์คือ RYOOK

ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัท ไลทซ์ ที่นิวยอร์ค  ได้เปลี่ยนกล้อง Leica มาตรฐานเป็นกล้องเอ็กซ์เรย์สำหรับ Westinghouse Corporation ซึ่งแตกต่างจากกล้อง X-Ray ของ Wetzlar คือ มีขนาดภาพเป็น 24 มม. x 36 มม. แทนที่จะเป็น 24 มม. x 24 มม. หลังจากกล้องรุ่นมาตรฐานได้หมดไปจากคลังสินค้า กล้องรุ่นอื่นหรือกล้องมือสองก็ได้รับการเปลี่ยนแทน

กล้อง WETZLAR “X-Ray” CAMERA

กล้อง NEW YORK “X-Ray” CAMERA

POST CAMERA

กล้อง POST CAMERA เป็นกล้องที่น่าสนใจอีกรุ่นหนึ่ง มีขนาดภาพ 2 แบบ เหตุที่เรียกว่า POST CAMERA ก็เพราะว่ามันถูกใช้ในงานของไปรษณีย์ โดยการบันทึกข้อมูลของมิเตอร์โทรศัพท์ เป็นกล้องที่ได้รับการออกแบบไปจากพื้นฐานการออกแบบให้ไม่มีช่องมองภาพ กล้องบางตัวของกล้องรุ่นนี้มีขนาดภาพ 24 มม. x 36 มม.ตามปกติ แต่ส่วนใหญ่มีขนาดภาพ 24 มม. x 27 มม.

Leica Ic เป็นกล้องไปรษณีย์ที่สร้างสมัยสงครามยุติใหม่ๆ ตัวกล้องเคลือบสีดำ และมีการสลักคำว่า DB บนก้านสำหรับขึ้นฟิล์มกล้องไปรษณีย์จริงๆ แล้วมีด้วยกัน 4 แบบ หลังสงคราม และอาจจะมีอีก 2 แบบ ถ้าจะนับรุ่น Leica Ig ซึ่งเป็นรุ่นพิเศษด้วยกันใน 200 กล้อง ซึ่งอยู่ในรุ่นที่เรียกว่า Blitzspecial ซึ่งมาจากกล้องไปรษณีย์รุ่นหลังสุด กล้องแบบแรกมาจากกล้อง Leica M1 ซึ่งดัดแปลงให้มีขนาดภาพเป็น 24 มม. x 27 มม. ซึ่งกล้องนี้ถูกสร้างขึ้นมาตามความต้องการของ German Fernmeldeltechnisches Zentralamt ติดเลนส์ทางยาวโฟกัสคงที่ SUMMAR 35 มม. ซึ่งได้รับการตั้งไว้ที่อัตราส่วน 1:12 และ 1:7 ในกล้องรุ่นแรกมีรูรับแสง f3.5 รุ่นหลัง f2.8 ตัวกล้องได้ติดแผ่นด้านหน้า ซึ่งทำให้สามารถติดกับเครื่องมือในการถ่ายภาพมิเตอร์โทรศัพท์ได้ แสงที่ใช้ในการถ่ายภาพได้จากแฟลช ทำโดยบริษัท Smiss ใน Alos กล้อง 2-3 ตัว ได้ถูกส่งไป ตามด้วยกล้องชุดที่ 2 จำนวน 300 ตัว ชื่อรุ่น MD มีขนาด 24 มม. x 36 มม. แต่เป็นลักษณะของกล้องไปรษณีย์มีปุ่มล็อคชัตเตอร์บนความเร็วแฟลช

ในปี 1968 ชื่อรุ่นเปลี่ยนเป็น  MDa มีกล้องไปรษณีย์ 220 ตัว ซึ่งมีขนาดภาพ 24 มม. x 27 มม. ถูกส่งไปตามด้วยกล้องอีก 200 ตัวที่มีขนาดภาพธรรมดา คือ 24 มม. x 36 มม.

กล้อง LEICA Ic “Post” 24 มม. X 36 มม.

กล้อง LEICA MD “POST” 24 มม. x 27 มม.

กล้อง LEICA MDa Post Camera 24 มม. x 27 มม.

DISPLAY DUMMIEES

ยังมีกล้องพิเศษอีกหลายแบบที่ใช้สำหรับตั้งโชว์ ทำโดย Leitz ตัวแรกคือ กล้องเปล่า รู้จักในนาม Atrappe ซึ่งลักษณะเหมือน Leica หรือ LEICAFLEX ของแท้เป็นเพราะว่าใช้ชิ้นส่วนของแท้ แต่มีราคาเพียงเศษเสี้ยวของกล้องจริง เพราะข้างในไม่มีอะไร กล้องนี้สร้างขึ้นเพื่อใส่ตู้โชว์ เป็นการลดความเสี่ยงต่อการถูกขโมย กล้องรุ่นนี้รู้จักในนาม Atrappe  

กล้อง Display Dumie ที่สร้างขึ้นในช่วงแรกไม่มีตัวเลขพิเศษ ภายหลังมีเลข 5 ตัว พร้อมกับอักษร A หลังสุดสำหรับ Leica R3 และ Leica R4 serial number

มีเลนส์ปลอมสำหรับใช้กับ Atrappe ด้วย โดยจะสลักวงแหวนตัวหน้าแตกต่างจากเลนส์จริง  กล้องปลอมก่อนสงครามนั้นหายาก  เนื่องจากใช้เป็นอะไหล่เป็นส่วนใหญ่ Leitz ยังได้ทำกล้องที่แสดงส่วนประกอบของชัตเตอร์  เพื่อสาธิตการทำงาน และใช้ในการนำออกแสดง กล้องนี้รู้จักในนาม Schnitt กล้องนี้ราคาต้นทุนในการผลิตสูงกว่ากล้องมาตรฐานฉะนั้นจึงมีผลิตออกมาน้อยมาก พวกสุดท้ายจะเป็นกล้องที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวจริงมาก กล้องเหล่านี้จะทำไว้น้อยมากสำหรับงานแสดงและตามร้านจำหน่าย  Leica รุ่น IIIa สมัยก่อนสงครามกับรุ่น IIIf กับ M3 หลังจากนั้นก็ไม่มีการผลิตกล้องลักษณะนี้อีก กล้องเหล่านี้เป็นกล้องสำหรับสะสมชั้นเยี่ยม

กล้อง Display Dummy ของ M3 กับ “Atrappe” เบอร์ 13011 A และเลนส์ 50 มม. F2.8 ELMAR

กล้อง Display Dummy ของ III f, M2, M3, M4 และ M5

กล้องสาธิตของ M3

กล้องสำหรับแสดงขนาดใหญ่ของ III f (ซ้าย) และ M3 (ขวา) เพื่อเปรียบเทียบกับกล้องจริง

กล้อง Leica แบบแปลกๆ

British Leica 250

กล้องนี้เป็นกล้อง Leica ที่แปลกประหลาดที่สุด เพราะเป็นกล้องที่ผลิตโดยอังกฤษชื่อรุ่น 250ทำมาจากกล้องมาตรฐานของ Leica ก่อนสงคราม ซึ่งมีชุดเฟืองต่อออกมาด้านนอก และใช้ระบบการทำงานจากหลอดฟิล์มถึงหลอดฟิล์ม คาดว่ากล้องรุ่นนี้ทำในช่วงสงครามเพื่อการใช้งานพิเศษ

“British” Leica 250

NASA Leica M4

NASA Leica M4 ได้รับการพัฒนาดัดแปลงโดยองค์การบริหารด้านอวกาศของสหรัฐ เพื่อใช้ถ่ายภาพดวงจันทร์โดยต่อปุ่มควบคุมต่างๆ ออกมา เพื่อให้ใช้กับถุงมือหนาๆ ได้ แต่เท่าที่รู้ Leica รุ่นนี้ไม่ได้ถูกนำไปใช้บนดวงจันทร์

“NASA” Leica

LEICAFLEX SL MOT ที่ถูกดัดแปลงโดย NASA ปุ่มปรับชัตเตอร์ถูกออกแบบเป็นพิเศษสำหรับผู้ใช้ถุงมือ

NON-LEITZ CONVERSION

ใน 60 ปี ของประวัติศาสตร์ของ LEICA มีเพียง non-Leitz conversions บางชิ้นเท่านั้นที่ยังหลงเหลืออยู่ หรือยังเป็นที่รู้จัก ไม่มีข้อสงสัยเลยที่กล้องหลายตัวได้ดัดแปลงนำไปใช้งานทางทหาร การแพทย์ หรือ ทางวิทยาศาสตร์ กล้องเหล่านี้บางตัวยังมีอยู่ในมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลหรือห้องทดลองในโรงงานอุตสาหกรรม “Leica 750” ดัดแปลงจาก Leica Ic มีช่องเก็บฟิล์มขนาดใหญ่มากได้ถูกสร้างขึ้น เชื่อว่าดัดแปลงโดยอังกฤษเหมือนกับรุ่น “British 250” แต่ไม่ทราบจุดประสงค์

อุปกรณ์เสริมของ Leica บางชิ้นถูกออกแบบและสร้างโดยผู้ผลิตรายอื่นเพื่อเพิ่มสมรรถนะของกล้อง โดยปกติ บริษัท Leitzจะร่วมมือในการผลิตด้วย อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนมากถูกดัดแปลง และขายโดยผู้แทนจำหน่าย Leitz โดยเฉพาะ Leitz New York ตัวอย่างเช่น “Direkt” เครื่องหน่วงเวลาการทำงานของชัตเตอร์ Rapido เครื่องขับเคลื่อนฟิล์มอัตโนมัติ (เพื่อแทนที่ระบบหมุน) และ “Vacub” ซึ่งเป็นไฟแฟลชตัวแรกที่สามารถสัมพันธ์กับชัตเตอร์ของLEICA กล้องเหล่านี้เกิดขึ้นตอนต้นของทศวรรษที่ 1930 อุปกรณ์ที่จะอธิบายต่อไป ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการดัดแปลงตัวกล้อง

Leitz ได้ทดลองติดแท่นเลนส์ซึ่งมีเลนส์หลายตัวบนกล้อง Leica ยุคแรกๆ ซึ่งมีตัวอย่างอยู่ที่ Wetzlar กล้องนี้ถูกดัดแปลงโดยติดแท่นซึ่งสามารถติด screw เลนส์ได้ เพื่อใช้กับกล้องรุ่นที่มีเขี้ยว โดยไม่ต้องดัดแปลงเพิ่มเติม

Haber และ Fink turret บนกล้องที่ถูกดัดแปลง

Leica รุ่นทดสอบ

ที่ Wetzlar จะมีร้านที่น่าสนใจอยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งใช้เก็บกล้องต้นแบบ ซึ่งเราจะพบกล้องที่ใช้ในการทดลองที่น่าสนใจ และผลิตออกขาย ตัวอย่าง เช่น กล้อง Leica 75 (ขนาดใหญ่กว่ากล้องปกติ แต่เล็กกว่า Leica 250) ซึ่งสร้างเพื่อทดสอบด้านการตลาดในการรองรับกล้องที่สามารถใส่ฟิล์มได้ยาวกว่าปกติ  สร้างขึ้นในปี 1934 โดยเป็นกล้องที่มีลักษณะกลไกเหมือนรุ่น Leica IIIa และ สีเงิน ฝาครอบเครื่องหาระยะชัดมีตัวเลข 142274 กล้องนี้เป็นกล้องตัวเดียวนอกเหนือจากรุ่น 250 ที่มีระบบโหลดฟิล์มจากกลักสู่กลัก

LEICA TYPE 75

อีกรุ่นหนึ่งที่น่าสนใจคือ กล้อง STEREO LEICA (Doppel) สร้างเป็นการส่วนตัวโดย Oskar Barnack ในปี 1935 ที่จริงแล้วเป็นกล้อง 2 กล้องในตัวเดียวที่มีชัตเตอร์ 2 อัน ความยาวตัวกล้อง 193 มม. แต่ความหนา ความสูงเท่ากับกล้องทั่วไปความยาวที่เพิ่มขึ้นทำให้สามารถติดที่ยึดเลนส์ที่มีจุดศูนย์กลางห่างกัน 71.5 มม. ความห่างนี้มีค่าประมาณเท่ากับระยะระหว่างตาคนทั้ง 2 ข้าง ขนาดภาพ 24 x 22.5 มม. เมื่อถ่ายภาพแล้วจะเลื่อนฟิล์มเข้าเท่ากับ 2 ภาพ และรูปถูกถ่ายด้วยเลนส์ 35 มม. กล้องนี้มีช่องมองภาพเดียวโดยอยู่ระหว่างเลนส์ทั้งสอง

เหตุที่สร้างกล้องนี้ขึ้นเนื่องจากขณะนั้น Leitz ได้สร้าง Stereo attachment ซึ่งสามารถใช้งานได้ดีเมื่อถ่ายภาพที่อยู่นิ่งเท่ากัน เนื่องจากมีชัตเตอร์อันเดียว ซึ่งจะถ่ายภาพหนึ่งก่อนแล้วค่อยถ่ายภาพที่สอง แต่ด้วยกล้องแบบนี้มีชัตเตอร์ 2 อัน ฉะนั้นจะเก็บภาพในเวลาเดียวกัน

LEICA “DOPPEL”

กล้องต้นแบบที่น่าสนใจอีกชนิดคือ Leica -H ที่เป็นผลให้รุ่น G ประสบความสำเร็จ โครงการนี้เกิดขึ้นในปี 1959 เกี่ยวกับการทำกล้องที่มีเครื่องวัดแสงในตัวกล้อง ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดคือ 1/1000 วินาที ใช้เลนส์ f2.8  ซึ่งตั้งขนาดรูรับแสงได้ที่ด้านหลังของตัวกล้องใกล้ปุ่มปลด สิ่งที่เป็นที่น่าสังเกตของกล้องนี้คือ ขนาดที่กะทัดรัด ที่ขึ้นฟิล์มซึ่งกลมกลืนกับตัวกล้อง เลนส์เมาท์ซึ่งสามารถยืดหดได้ และมีบานพับปิดเลนส์ซึ่งสามารถเปิดได้เมื่อกดปุ่ม กล้องนี้ได้ผลิตออกมาจนสำเร็จและอยู่ในตระกูล Leica

LEICA H CAMERA (LEITZ COLLECTION)

มีกล้องต้นแบบที่น่าสนใจอีก 2 ตัว ซึ่งมีแสดงไว้ในรูป Leica BOX เป็นกล้องครึ่งเฟรมในตอนต้นของทศวรรษที่ 1950 ซึ่งในตอนนั้นขนาดภาพนี้ดูเหมือนจะได้รับความนิยม  

LEICA BOX กล้องต้นแบบประเภท Half-frame

Leica 110 เกือบจะได้รับการผลิตและได้ออกแสดงในงาน Photokina 1974 แต่หลังจากได้รับการประเมินใหม่ทางการตลาดปรากฏว่าเป็นกล้องที่ไม่ค่อยเหมาะสมจาก Leitz

มีกล้องทดลองอีกหลายตัวที่ผลิตที่ Wetzlar เพื่อจะได้นำกล้องที่สมบูรณ์แบบในการค้นคว้าต่อไปอีกที่จะให้ข้อมูลเราเกี่ยวกับกล้องที่น่าสนใจอีกหลายรุ่น ซึ่งบางรุ่นก็มีการกล่าวถึงแล้ว เช่น กล้องต้นแบบ Leica 72 ซึ่งมีช่องมองภาพพิเศษเป็นรูปทรงกระบอก และ Leica IV ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็นกล้องต้นแบบรุ่นแรกๆ ของ M3 กล้องบางตัวได้แสดงไว้ที่นี้

ท้ายที่สุด คือ ตัวอย่างของกล้อง Panoramic 35 มม. พิเศษที่ Wetzlar ออกแบบโดย Oskar Barnack ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งเลนส์จะหมุนรอบแกน ซึ่งควบคุมโดยระบบลานนาฬิกา

LEICA 110

Experiment Leica 250

Experiment Factory Turret camera

กล้องทดสอบรุ่น II (Leitz Collection)

กล้อง OSKAR BARNACK PANORAMIC CAMERA

ย้อนไปดูตอนที่ 1 ได้ลิงค์ข้างล่างนี่

Leica…ตำนานกล้องที่ช่างภาพใฝ่ฝัน (กำเนิดกล้อง Leica)

ย้อนไปดูตอนที่ 2 ได้ลิงค์ข้างล่างนี่

Leica…ตำนานกล้องที่ช่างภาพใฝ่ฝัน ตอน 2 (ปอกเปลือก…UR-CAMERA)

ย้อนไปดูตอนที่ 3 ได้ลิงค์ข้างล่างนี่

Leica…ตำนานกล้องที่ช่างภาพใฝ่ฝัน ตอน 3 (Leica I หรือ Leica model A)

ย้อนไปดูตอนที่ 4 ได้ลิงค์ข้างล่างนี่

Leica…ตำนานกล้องที่ช่างภาพใฝ่ฝัน ตอน 4

ย้อนไปดูตอนที่ 5 ได้ลิงค์ข้างล่างนี่

Leica…ตำนานกล้องที่ช่างภาพใฝ่ฝัน ตอน 5

ย้อนไปดูตอนที่ 6 ได้ลิงค์ข้างล่างนี่

Leica…ตำนานกล้องที่ช่างภาพใฝ่ฝัน ตอน 6

ย้อนไปดูตอนที่ 7 ได้ลิงค์ข้างล่างนี่

Leica…ตำนานกล้องที่ช่างภาพใฝ่ฝัน ตอน 7 (The Die-cast Model)

ย้อนไปดูตอนที่ 8 ได้ลิงค์ข้างล่างนี่

Leica…ตำนานกล้องที่ช่างภาพใฝ่ฝัน ตอน 8 (สงครามไลก้า)